ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะ ของหมู่บ้านนางแลใน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Teerawan Boontosaeng
  • Suruswadee Nanglae
  • Thanwarat Butsan
  • Nitima Phrommarat
  • Thanayut Changruenngam

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะ ของชาวบ้านในหมู่บ้านนางแลใน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเปรียบเทียบชาวบ้านสองกลุ่มคือกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยในพื้นราบกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในพื้นที่สูง ซึ่งเป็นชาติพันธุ์อาข่าและลาหู่  ผลการศึกษาพบว่า ในการสำรวจความรู้เกี่ยวกับขยะของชาวบ้านพบว่า ชาวบ้านในพื้นที่ราบมีความรู้เกี่ยวกับประเภทขยะและโทษของขยะมากกว่าชาวบ้านที่เป็นชาติพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในขณะที่ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะพบว่า ชาวบ้านทั้งสองกลุ่มมีความรู้ไม่แตกต่างกัน อยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้เหมือนกัน สำหรับการศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะพบว่า ชาวบ้านทั้งสองกลุ่มมีทัศนคติเกี่ยวกับปัญหาขยะในชุมชน ปัญหาการจัดการขยะในชุมชน การรับรู้ข่าวสารการจัดการขยะ อุปสรรคและปัญหาในการจัดการขยะในชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมการจัดการขยะในชุมชนไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนการศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะพบว่า พฤติกรรมด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอยของชาวบ้านทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่มีพฤติกรรมคล้ายกัน มีเพียงการให้คำแนะนำแก่เพื่อนบ้านเพื่อให้ช่วยกันลดขยะมูลฝอยนั้น ชาวบ้านที่เป็นชนเผ่ามีพฤติกรรมด้านนี้มากกว่าชาวบ้านในพื้นที่ราบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ พฤติกรรมด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ของชาวบ้านทั้งสองกลุ่มยังพบว่า ชาวบ้านในพื้นที่ราบมีพฤติกรรมนำขยะที่เป็นวัสดุประเภทโลหะไปขายมากกว่าชาวบ้านที่เป็นชนเผ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนพฤติกรรมด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย พบว่าชาวบ้านในพื้นราบมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะเปียกขยะแห้ง การคัดแยกขยะประเภทหลอดนีออนและแบตเตอรี่ และการคัดแยกขยะประเภทวัสดุพลาสติกมากกว่าชาวบ้านที่เป็นชาติพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สุดท้าย พฤติกรรมด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดการขยะของชาวบ้านพบว่า พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการคิดวิธีกำจัดขยะในชุมชนของชาวบ้านที่เป็นชาติพันธุ์จะมีมากว่าชาวบ้านในพื้นที่ราบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กรมควบคุมมลพิษ.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คู่มือประชาชน การคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีและเพิ่ม มูลค่า. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฮีซ์ จำกัด, 2555.

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดแผนพัฒนา เทศบาลตำบลนางแล. แผนพัฒนาสามปี เทศบาลตำบลนางแล (พ.ศ. 2557 –2559) :
เทศบาลตำบลนางแล, 2556.

เทศบาลตำบลนางแล. โครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการสามระบบ ในรูปขยายผล (จัดอบรมคัดแยกขยะ จัดตั้ง
ธนาคารขยะหมู่บ้าน จัดตั้งศูนย์ (EESH) และจัดตั้งเตาเผาขยะชุมชนปลอดมลพิษ) : เทศบาลตำบลนางแล, 2554.

ดวงใจ ปินตามูล. การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วน ร่วมของประชาชนในองค์การ บริหารส่วนตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. สาขาวิชาการบริหารการปกครอง ท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2555.

ธนกฤต บวกขุนทด. การศึกษารูปแบบการจัดการการจัดเก็บขยะชุมชน กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตําบลโนนเมืองพัฒนาอําเภอด่านขุนทด จังหวดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิศวกรรมโยธา, สํานักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2553.

อิสรภาพ มาเรือน. กระบวนการสร้างความร่วมมือทางสังคมระหว่างชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าเมี่ยน เผ่าลัวะ เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืนที่ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(1), 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite