ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางชีวภาพของผักจ้ำ

ผู้แต่ง

  • Banthot Chomsawan
  • Thanoosak Thanasarn
  • Prasert Waiyaka
  • Surawut Jaikla

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เพื่อตรวจวัดฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางชีวภาพ และตรวจวัดชนิดและปริมาณสารสำคัญที่อยู่ในกลุ่มโพลิฟีนอลในผักจ้ำ โดยตรวจวัดฤทธิ์ในการต้านอนุมูล diphenylpicrylhydrazyl (DPPH) ใช้โทรลอกซ์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน  และตรวจวัดชนิดสารสำคัญ  โดยการทดสอบคุณสมบัติเชิงคุณภาพด้วยโครมาโทกราฟีแบบผิวบาง ทำการตรวจสอบฟลาโวนอยด์ แทนนิน และโพลิฟีนอล โดยปฏิกิริยาทางเคมีและการทำให้เกิดสี   หาปริมาณสารโพลิฟีนอลทั้งหมดในรูปกรดแกลลิก โดยเทียบกราฟมาตรฐานกรดแกลลิก และทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพโดยทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย S. aureus  และ E. coli ด้วยวิธี Agar disc diffusion  ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดผักจ้ำมีฤทธิ์ต้านอนุมูล DPPH  โดยวัดจากค่า IC50 เท่ากับ 0.035  มก./มล. และเมื่อเทียบความสามารถในการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกับโทรลอกซ์ โดยคำนวณเป็นค่า TEAC พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.6857 หน่วย  และค่า Specific antioxidant activity มีค่า 0.0173 หน่วยต่อกรัมของสารสกัดแห้ง  สารสกัดผักจ้ำที่มีความเข้มข้น 0.1 มก./มล. มีปริมาณโพลิฟีนอลเท่ากับ 0.0397 มก./มล.   กลุ่มสารโพลิฟีนอลสำคัญที่ตรวจพบ คือ  สารฟีนอลิค  แทนนินชนิดรวมตัวแน่น  แทนนินที่สลายได้ด้วยน้ำ  เอาโรน  ชาลโคน  ฟลาแวนโนน  ฟลาโวน  ฟลาโวนอล   ฟลาแวนโนนอล   แซนโธน  แอนโธไซยานิน  แอนโธไซยานิดิน  และแคทีชิน   ปริมาณโพลิฟีนอลในสารสกัดผักจ้ำ มีความสัมพันธ์กับ % Inhibition อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<0.01)  เมื่อทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียพบว่าสมุนไพรดังกล่าวไม่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทดสอบได้

References

บรรทด จอมสวรรค์. 2550. การตรวจวัดฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและสารสำคัญของผักพื้นบ้านบางชนิดในจังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระ วท.ม.(การสอนวิทยาศาสตร์) เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปณัฐฐา ไชยมุติ. 2546. การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพรบางชนิด. วิทยานิพนธ์
วท.ม.(ชีวเคมี) สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,

ไมตรี สุทธจิตต์ และคณะ. 2543. ความสามารถของสารสำคัญในการต่อต้านออกซิเดชันของสมุนไพรไทย : รายงานการวิจัยแพทย์แผนไทยฉบับสมบูรณ์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Byong Won Lee et. al. 2005. “Antioxidant and cytotoxic activities of xanthones from Cudrania tricuspidata.” Bioorganic & Medicinal Chemistry Letters. 15 (24) : 5548-5552.
Cadenas, E. and Packer, L. 1996. Handbook of Antioxidants. New York : Marcel Dekker, Inc..

Elvira González de Mejía, et al. 2006. “Catalytic inhibition of human DNA topoisomerase by phenolic compounds in Ardisia compressa extracts and their effect on human colon cancer cells.” Food and Chemical Toxicology, 44 (8) : 1191-1203

Gurpreet Kaur et. al. 2006. “Evaluation of antioxidant activity of Cassia siamea flowers”, Journal of Ethnopharmacology. 108 (3) : 340-348.

Marco Vinicio Ramirez-Mares, Sonia Chandra and Elvira Gonzalez de Mejia. 2004. “In vitro chemopreventive activity of Camellia sinensis, Ilex paraguariensis and Ardisia compressa tea extracts and selected polyphenols.” Mutation Research/Fundamental and Molecular Mechanisms of Mutagenesis, 554 (1-2) : 53-65.

Papas, Andreas M. 1999. Antioxidant Status, Diet, Nutrition, and Health. New York : CRC Press.

Parsons, Andrew F. 2000. An Introduction to Free Radicals Chemistry. Cambridge : Cambridge Univ. Press.

Rice-Evans, C. A., Miller, N. J. and Paganga, G. 1996. “Structure-antioxidant activity relationships of flavonoids and phenolic acids.” Free Radical Biology and Medicine. 20 (7) : 933-956.

Roberfroid, M. B. and Calderon, P. B. 1995. Free Radicals and Oxidation Phenomena in Biological Systems. New York : Marcel Dekker, Inc..

Pitchaon Maisuthisakul, Maitree Suttajit and Rungnaphar Pongsawatmanit. 2006. “Assessment of phenolic content and free radical-scavenging capacity of some Thai indigenous plants.” Food Chemistry, 100 (4). : 1409-1418.

Savitree Mongkolsilp, et al. 2004. “Radical Scavenging Activity and Total Phenolic Content of Medicinal Plants Used in Primary Health Care,” SWU J Pharm. Sci. , 9(1) : 32 – 35.

Shin Kim, Joo. 2005. “Radical Scavenging Cappacity and Antioxidant Activity of the E Vitamer Fraction in Rice Bran,” Journal of Food Science. 70, Nr.3 : C208 – C213.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite