การพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ตำบลเวียงชัย

ผู้แต่ง

  • Phinyaphat Kawinkham

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสมรรถนะตามความเป็นจริงของครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ตำบลเวียงชัย 2)ค้นหาสมรรถนะที่เหมาะสมกับครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ตำบลเวียงชัย และ 3)เพื่อประเมินสมรรถนะที่เหมาะสมกับครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ตำบลเวียงชัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 13 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยประชุมกลุ่มย่อย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู รวม 27 คน และ 3)กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ครูจำนวน 13 คน จากโรงเรียนขนาดเล็กเขตพื้นที่ตำบลเวียงชัย 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินสมรรถนะตามความเป็นจริงของครู แบบสอบถาม/สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม โดยการใช้เทคนิควิจัย EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัย ระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบสมรรถนะของครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ตำบลเวียงชัย ดังนี้

  1. สมรรถนะตามความเป็นจริง ประกอบด้วย 12 สมรรถนะย่อย 92 ตัวชี้วัด คือ สมรรถนะด้านความรู้ จำนวน 1 สมรรถนะย่อย 5 ตัวชี้วัด สมรรถนะด้านทักษะ จำนวน 7 สมรรถนะย่อย 59 ตัวชี้วัด และ สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 4 สมรรถนะย่อย 28 ตัวชี้วัด โดยสมรรถนะตามความเป็นจริงของครูในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ตำบลเวียงชัยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.68, S.D.=.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สมรรถนะด้านความรู้ คุณลักษณะหรือระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระในรายวิชาที่และเนื้อหาสาระในรายวิชาที่เกี่ยวข้องมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด(gif.latex?\bar{X}=3.95, S.D.=.57) สมรรถนะด้านทักษะคุณลักษณะหรือระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด(gif.latex?\bar{X}=3.81, S.D.=.66) และ สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล คุณลักษณะหรือระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับทักษะการปรับตัวมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด(gif.latex?\bar{X}=3.87, S.D.=1.34)
  2. สมรรถนะที่เหมาะซึ่งได้มาจากการประชุมระดมสมองผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 14 สมรรถนะย่อย 92 ตัวชี้วัด สมรรถนะด้านความรู้ จำนวน 1 สมรรถนะย่อย 5 ตัวชี้วัด สมรรถนะด้านทักษะ จำนวน 9 สมรรถนะย่อย 59 ตัวชี้วัด สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 4 สมรรถนะย่อย 28 ตัวชี้วัด
  3. สมรรถนะที่เหมาะสมซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลตามเกณฑ์การพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 14 สมรรถนะ 99 ตัวชี้วัด คือ สมรรถนะด้านความรู้ จำนวน 1 สมรรถนะย่อย 5 ตัวชี้วัด สมรรถนะด้านทักษะ จำนวน 9 สมรรถนะย่อย 68 ตัวชี้วัด สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 4 สมรรถนะย่อย 26 ตัวชี้วัด

References

กมลชนก ภาคภูมิ (2556) การพัฒนารูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อ รองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน.

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุวรรณ นาคัน และ นภดล เจนอักษร. (2556). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2556) : 729-746.

วนิดา ภู่วรนาทนุรักษณ์. (2550). สมรรถนะครูไทย. วารสารรามคำแหง ปีที่ 26 ฉบับพิเศษ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แบ่งส่วนราชการสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เป็นการภายใน). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559. จาก http://hrd.obec.go.th/data/about.PDF.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2553). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558). กรุงเทพฯ : แม็ทซ์พอยท์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การดำเนินงานรวมโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559. จากhttp://202.143.185.24/planning/attachments/article/43/school.pdf
สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา (2549). กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เล่ม 1 : พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. และเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545.กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

สุวิทย์ ยอดสละ. (2554). การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแนวใหม่: ทางรอดหรือทางเลือก. วารสารการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(3). 9-23.

สุรศักดิ์ ปาเฮ (2559). การเรียนทางไกล : การวิเคราะห์ปัจจัยทางเลือกสาหรับการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของไทย สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 สืบค้นจาก http://www.eduweb-stou1.com/textforedu.

McClelland, David C. (1973). Testing for Competence Rather Than Intelligence. American Psychologists. 28 (1), 1-14.

Spencer, Jr., L.M., & Spencer, S.M. (1993). Competence at Work : Models for Superior Performance. New York : John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite