การติดตามประเมินผลการรักษากลุ่มโรคที่รักษาด้วยมือด้วยการแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • Siwapong Tansuwanwong
  • Kanyanoot Taoprasert
  • Duangnapa Danboonchant
  • Yingyong Taoprasert

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการติดตามประเมินผลการรักษากลุ่มโรคที่รักษาด้วยมือด้วยการแพทย์แผนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลหลังการรักษาโรค/อาการของกลุ่มผู้ป่วยอาสาสมัครในคลินิกการแพทย์แผนไทยเครือข่ายของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ว่าภายหลังการรักษา ผู้ป่วยหายจากอาการเป็นระยะเวลานานเพียงใด มีเงื่อนไขปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อระยะเวลาการหาย/ไม่หายจากอาการ ครอบคลุมการรักษากลุ่มโรคเฉพาะได้แก่ 1) โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต 2) อาการไหล่ติด 3) อาการสะบักจม 4) อาการคอตกหมอน 5) อาการนิ้วล็อค และ 6)โรคข้อเข่าติด โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเลือก (Purposive sampling) ภายใต้เงื่อนไขคือ 1) มีข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยครบถ้วนจากแบบบันทึกผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ (OPD card) ในคลินิกการแพทย์แผนไทย 2) มีผลการรักษาที่แพทย์แผนไทยตัดสินว่าหาย/มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น 3) สามารถติดต่อได้และยินยอมเข้าร่วมการติดตามประเมินผล รวมจำนวนที่สามารถติดตามประเมินผลได้ 69 ราย โดยการลงชุมชนและใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เป็นเครื่องมือการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล

               ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างหลังการรักษาจาก  6 โรค/อาการ สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่รักษาแล้วหายเป็นปกติ (ร้อยละ 56.52)  2) กลุ่มที่รักษาแล้วหายช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วกลับมาเป็นซ้ำ (ร้อยละ 27.54) 3) กลุ่มที่รักษาหายแล้วแต่กลับมาเป็นซ้ำทันที (ร้อยละ15.94) โดยในกลุ่มที่รักษาแล้วหายเป็นปกติพบว่ามีระยะเวลานานที่สุด คือ อาการไหล่ติด ระยะเวลา 4 ปี รองลงมาคือ อาการนิ้วล็อค ระยะเวลา 2 ปี 2 เดือน และโรคข้อเข่าติด ระยะเวลา 1 ปี 9 เดือน  ทั้งนี้เงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลให้หลังการรักษาแล้วไม่มีอาการกลับมาเป็นซ้ำ คือผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้โรค/อาการกลับมาเป็นซ้ำ  ส่วนในกรณีของกลุ่มที่รักษาหายแต่กลับมาเป็นซ้ำ พบว่าเป็นกลุ่มที่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงได้ระยะเวลาหนึ่ง แล้วจำเป็นต้องกลับไปทำพฤติกรรมเดิมซ้ำๆ และกลุ่มที่ภายหลังการรักษาแล้วโรค/อาการกลับมาเป็นซ้ำทันทีเลยนั้น เนื่องมาจากหลังยุติการรักษาแล้ว ผู้ป่วยกลับไปปฏิบัติตัวตามเดิมก่อนเข้ารับการรักษา จึงเป็นเหตุให้โรค/อาการเดิมกลับมาเป็นซ้ำในทันที

                ข้อสรุปจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ พบว่ากลุ่มโรค/อาการที่แพทย์แผนไทยสามารถรักษาได้เป็นกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงจากพฤติกรรมเป็นสำคัญ โดยสาเหตุของโรค/อาการดังกล่าว มาจากการทำพฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นประจำสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะทำให้หายจากโรค/อาการดังกล่าว

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2558). แนวทางการจัดบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกแบบครบวงจร ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาล ชุมชน. กรุงเทพ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์จำกัด.

จินตนา นันต๊ะ. (2555). การวิเคราะห์ผลการรักษาอาการอัมพาต และติดขัดเฉพาะที่ด้วยระบวนการนวดรักษาของการแพทย์แผนไทย. (วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

จันทวงศ์ แซ่ว้าง. (2556). การบูรณาการแบบแผนการนวดไทยบำบัดเพื่อการรักษาอาการอัมพาตและติดขัดเฉพาะที่: กรณีศึกษาแบบแผนการนวดไทยบำบัดของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก. (วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย

มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและคณะ. (2552). ตำราการนวดไทยเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา.

สุชิตา ปักสังคเนและคณะ. (2554). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองต่อการลดความเจ็บปวด และความพึงพอใจของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิจัย มข. 16 (1) : มกราคม. หน้า 1-9.

อรุณี ชาญชัยและคณะ. (2557). ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อระดับความรู้
และทักษะในการดูแลผู้ป่วย ระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและระดับความพึงพอใจในการดูแลตามโปรแกรมของผู้ดูแล/ผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระยอง. วารสารวิทยาลัย พยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 กันยายน 2556 - กุมภาพันธ์ 2557. หน้า 78-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite