การผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ปั่นไฟแก๊สโซลีนขนาดเล็กโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากใบตอง ผสมมูลวัว และถั่วเหลืองแห้งบด
คำสำคัญ:
N/Aบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ปั่นไฟแก๊สโซลีนขนาดเล็ก โดยใช้ก๊าซชีวภาพจากการหมักใบตองและมูลวัว โดยใช้ถั่วเหลืองแห้งบดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบก๊าซชีวภาพที่ได้กับเครื่องยนต์ปั่นไฟแก๊สโซลีน เพื่อหาอัตราส่วนของก๊าซชีวภาพและน้ำมันเบนซินที่เหมาะสมในการผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ปั่นไฟแก๊สโซลีนขนาดเล็ก และเพื่อเปรียบเทียบอัตราการใช้เชื้อเพลิงเบนซินต่อหน่วยของเครื่องยนต์ระหว่างการใช้น้ำมันเบนซิน และการใช้น้ำมันเบนซินร่วมกับก๊าซชีวภาพในการผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ปั่นไฟแก๊สโซลีนขนาดเล็ก
ผลการวิจัยพบว่า ก๊าซชีวภาพสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับน้ำมันเบนซินได้ที่ทุกอัตราส่วนและการใช้ก๊าซชีวภาพร่วมในการเดินเครื่องยนต์ทำให้ลดปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินได้ จากการทดสอบการผสมเชื้อเพลิงที่ระหว่างก๊าซชีวภาพและน้ำมันเบนซินในอัตราส่วนโดยปริมาตรที่ 80:20, 60:40, 50:50, 40:60, 20:80 และ 0:100 ผลการทดสอบพบว่าปริมาณ CO2 และค่าอุณหภูมิไอเสียมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณสัดส่วนของก๊าซชีวภาพที่มากขึ้น โดยที่อัตราส่วน 80:20 จะให้ค่า CO2 และอุณหภูมิไอเสีย สูงสุดที่ 0.058 % และ 58.9 °C ตามลำดับ พิจารณาอัตราการใช้เชื้อเพลิงเบนซินพบว่า ที่อัตราส่วนของก๊าซชีวภาพที่มากขึ้นทำให้อัตราการใช้เชื้อเพลิงเบนซินลดลง ที่อัตราส่วนของเชื้อเพลิง 80:20 ให้ค่าอัตราการใช้น้ำมันเบนซินต่ำสุดที่ 0.0242 m³/kWh
References
[2] สุวิน สลีสองสม, เสกสรรค์วินยางค์กูล, พลากร ภูมิพันธ์, วิทวัส บุญแรง, สมนึก สำราญ,โชคชัย เก่งจริง. (2546). เครื่องยนต์เล็กดัดแปลงโดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลช้างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า. ปริญญานิพนธ์. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
[3] สมบูรณ์ ศิริพรมงคลชัย. (2546). การปรับปรุงคาร์บูเรเตอร์สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้ก๊าซชีวภาพ. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
[4] นายนพพร ชูศักดิ์พานิชย์, นายบรรจง จันทนะเปลิน, นายเศกสรรค์ ชุมอักษร. (2534).
การใช้ก๊าซชีวภาพเดินเครื่องยนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า. ปริญญานิพนธ์. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
[5] Bedoya Iván D., Saxena Samveg, Cadavid Francisco J., Dibble Robert W., Wissink Martin. (2012). Experimental evaluation of strategies to increase the operating range of a biogas-fueled HCCI engine for power generation. Applied Energy. Vol.97. pp. 618-629.
[6] Jung Choongsoo, Park Jungsoo, Song Soonho. (2015). Performance and NOx emissions of a biogas-fueled turbocharged internal combustion engine. Energy. Vol.86. pp. 186-195.
[7] Yamasaki Yudai, Kanno Masanobu, Suzuki Yoshitaka, Kaneko Shigehiko. (2013). Development of an engine control system using city gas and biogas fuel mixture. Applied Energy. Vol.101. pp. 465-474.
[8] W.J. Oosterkamp. (2013,10-22). Engines on biogas for generators with a maximum power of fifty kWe. สืบค้นจาก http://docplayer.net/5888787-Engines-on-biogas-for-generators-with-a-maximum-power-of-fifty-kwe-22-10-2013-w-j-oosterkamp-introduction.html.
[9] เฉลิมพล วัฒนาตระกูลวงศ์, สุริยัน มาไกล, ธนากร อุต๊ะมา. (2560). การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์ และใบตองโดยใช้ถั่วเหลืองเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน. มหาวิทยลัยราชภัฏเชียงราย.
[10] ณัฐวุฒิ พลศร, รัชพล สันติวรากร. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลดัดแปลง เมื่อใช้น้ำมันเบนซิน ก๊าซหุงต้มและก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). หน้า 27-38.
[11] Awogbemi, Omojola, Adeyemo, Sunday Babatunde. (2015). Development And Testing of Biogas-Petrol Blend As An Alternative Fuel For Spark Ignition Engine. International Journal of Scientific & Technology Research. Vol. 4. Issue 09. pp. 179-186.
