พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Waranya Maneerat
  • Jantakan Laowongsa
  • Suthida Paisarn2
  • Kwanruethai Leumteum

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) กลุ่มประชากรได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมดที่อาศัย ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในปีพ.ศ. 2558 จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ  ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยคำถามแบบ (Check lists) และส่วนที่ 2 พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเป็นคำถามเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติของผู้สูงอายุในการบริโภคอาหาร ซึ่งยึดหลักอาหาร 5 หมู่ โภชนบัญญัติ 9 ประการ และความต้องการสารอาหารในวัยผู้สูงอายุ เป็นคำถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale)   แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item Objective Congruence Index : IOC) ได้เท่ากับ 0.8 มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.63 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน

            ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 51 คน (ร้อยละ 65.38) เพศชาย จำนวน 32 คน (ร้อยละ 38.55) มีระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าประถมศึกษามากที่สุดจำนวน 52 คน (ร้อยละ 62.65) การรับประทานอาหารจะทำอาหารด้วยตนเองมากที่สุดจำนวน 65 คน (ร้อยละ 78.31) ส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครัวหรือญาติให้ข้อมูลเรื่องการรับประทานอาหารจำนวน 71 คน (ร้อยละ 85.54) ในส่วนของภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เพศหญิงมีรอบเอว >80 เซนติเมตร จำนวน 32 คน (ร้อยละ 38.55) เพศชายมีรอบเอว > 90 เซนติเมตร จำนวน 5 คน (ร้อยละ 6.02) ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 29 คน (ร้อยละ 34.93) มีปัญหาด้านสุขภาพฟัน โดยใส่ฟันปลอมมากที่สุด จำนวน 32 คน (ร้อยละ 38.55)  มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี จำนวน 68 คน (ร้อยละ 81.93) และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 15 คน (ร้อยละ 18.07) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพ ในด้านโภชนาการในกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายต่อไป

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (ม.ป.ป). ชู 3 อ.ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/29717-

กฤติน ชุมแก้วและชีพสุมน รังสยาธร. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกกรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. กรุงเทพมหานคร: วิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กาญจนา บุญภักดิ์. (2552). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร.วิจัยสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

กิจดานันท์ กันแก. (2558). โภชนาการดี มีชัย สมวัยทำงาน. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก
http://www.thaihealth.or.th/Content/2902899.html

ขนิษฐา สุขปัญญา. (2555). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ตำบลวังใหญ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนคราชสีมา. สารนิพนธ์ วท.บ. (วิทยาศาสตรบัณฑิต).

จารินี ยศปัญญา. (ม.ป.ป). โภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก
pdf-75291783a185176af8101e14c3562309.pdf

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. (ม.ป.ป). อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559, จาก
http://www.bangkokhealth.com/health/article/

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (ม.ป.ป). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม
2559, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF

ทรงพจน์ สุภาผล. (ม.ป.ป). ความสำคัญกับสุขภาพผู้สูงอายุในวัน World Health Day 2012.
สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2559, จาก http://www.voathai.com/content/world-health-day-ss-146373655/1146902.html

พิมชนก. (2557). อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/2641220.html
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ. (ม.ป.ป). ความหมายของผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.olderfund.opp.go.th. 2546

นวนิตย์ จันทร์ชุ่ม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร

วรรณวิมล เมฆวิมล. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของ
ผู้สูงอายุจังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม : วิจัยวิทยาลัยสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิชาญ เกิดวิชัย. (ม.ป.ป). อาหารสำหรับผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559 , จาก
http://www.thaicam.go.th/attachments/324_chapter_6_food_for_the_elderly.pdf

วรวุฒิ เจริญศิริ. (2557). อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-year/older/351-

ยุพิน วรสิริอมรและคณะ. (ม.ป.ป) การเกิดกับความมั่นคงในประชากรและสังคม. กรุงเทพมหานคร : รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2551 และแนวโน้ม ปี 2552สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2550). อาหารเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite