การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของบ้านนางแลใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Krittawit Sukueng
  • Kittichai Chantima

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางแล ป่าดอยยาว และป่าดอยพระบาท และการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชนในพื้นที่บ้านนางแลใน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในการประเมินและกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิจากภาพถ่ายดาวเทียม รวมทั้งการสำรวจสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ประโยชน์ที่ดินของครัวเรือนโดยการสัมภาษณ์ครัวเรือนในชุมชน (254 ครัวเรือน) และการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนบ้านนางแลในต้องการเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน และต้องการให้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเอกชนส่งเสริมให้ความรู้ในการทำการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิธีการปลูกพืชแบบผสมผสาน และวิธีการปลูกไม้พุ่มตระกูลถั่วเพื่อบำรุงดิน เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงอนุรักษ์ ถึงแม้ว่าพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางแล ป่าดอยยาว และป่าดอยพระบาท ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชทุกชนิดเนื่องจากความลาดชันมากกว่าร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีความลาดชันน้อยกว่าร้อยละ 30 มีความเหมาะสมปานกลางในการปลูกข้าว แต่ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงอนุรักษ์เพื่อช่วยบำรุงดินและป้องกันการเกิดแผ่นดินถล่ม เขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่บ้านนางแลใน คือ บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 30 ซึ่งถ้าเปิดหน้าดินเพื่อทำเกษตรกรรมทำให้เกิดการชะล้างพังทลายสูงมาก และชุดดินในเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นชุดดินที่ 62 ที่ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร แต่ควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร

References

กรมป่าไม้. (2558). เนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2516–2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2558, จาก http://forestinfo.forest.go.th/55/Content.aspx?id=72

กรมพัฒนาที่ดิน. (2535). คู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. (2550). เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน: การปรับปรุงดินที่มีสภาพการชะล้างพังทลาย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (แผ่นพับ)

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2559). ผลการตรวจสอบข้อมูลชุดดิน (Soil Series). สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.soil.doae.go.th/upload/iblock/c6e/c6ee6c01af5e3a81a5d117a1e656852.pdf

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2559). สถิติปริมาณฝน ณ สถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2549-2558. กรุงเทพฯ: กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กองสำรวจและจำแนกดิน. (2543). ลักษณะและคุณสมบัติที่สำคัญของ 62 กลุ่มชุดดิน. กรุงเทพฯ: กองสำรวจและจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เกษมศรี มานิมนต์. (2549). ศักยภาพการเกิดแผ่นดินถล่มจากการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำลำพระเพลิงตอนบน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

เทศบาลตำบลนางแล. (2556). แผนพัฒนาสามปี เทศบาลตำบลนางแล (พ.ศ. 2557-2559). เชียงราย: เทศบาลตำบลนางแล.

บุญชุบ บุ้งทอง. (2544). การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินถล่มในจังหวัดจันทบุรี. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร.

สถานีพัฒนาที่ดินเชียงราย. (2554). ชั้นข้อมูลแบบจำลองระดับความสูงของภูมิประเทศเชิงเลข (Digital Elevation Model; DEM) ชั้นข้อมูลชุดดิน และชั้นข้อมูลพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน. เชียงราย: สถานีพัฒนาที่ดินเชียงราย.

สถาพร มนต์ประภัสสร. (2542). การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนการใช้ที่ดินสำหรับการเกษตรบางชนิดในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

Food and Agricultural Organization of the United Nations (FAO). (1976). Monthly Bulletin of Agricultural and Economics and Statistics. 25(4).

Mialhe, F., Gunnell, Y., Ignacio, J.A.F., Delbart, N., Ogania, J.L. and Henry, S. (2015). Monitoring Land-use change by combining participatory land-use maps with standard remote sensing techniques: Showcase from a remote forest catchment on Mindanao, Philippines. International Journal of Applied Earth Observation and Geoinformation, 36: 69-82.

Robbins, P. (2003). Beyond ground truth: GIS and the environmental knowledge of herders, professional foresters, and other traditional communities. Human Ecology, 31(2): 233-253.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite