ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มต่ออัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • Tithima Tasuwanin
  • Kannika Tappakit

บทคัดย่อ

ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับภาวะสุขภาพตามมา การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้สูงอายุและครอบครัว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มต่ออัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ในชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย เข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม จำนวน 7 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที และมีการติดตามอัตราการพลัดตกหกล้มใน 90 วัน และดูแลตนเองตามปกติ การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการพลัดตกหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ค่าเฉลี่ยของการพลัดตกหกล้มของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (p > .05) และหลังเข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของการพลัดตกหกล้มลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05)

 

References

ศินาท แขนอก.หารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ.กรมอนามัย;2554

นิรัชรา จ้อยชู, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, วิชชุดา เจริญกิจการ. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม สุขภาพกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร 2557 ;20:236-248.

วิลาวรรณ สมตน, ทัศนีย์ รวิวรกุล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ.ผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556 ;27:58-70.

ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และกนกพร นทีธนสมบัติ.(2557).การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา.วารสารพยาบาลทหารบก.1(15),122-129.

ลัดดา เถียมวงศ์ และ เรวดี เพชรศิราสัณห์.ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชรา.Thai Journal of Nursing Council 2009 ;24:77-87.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล.ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไทย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ;2544.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. Available from: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/elderlyworkFullReport57-1.pdf.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.สรุปสถิติที่สำคัญในปี พ.ศ.2556. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2559] เข้าถึงได้จากFrom: https://www.m-society.go.th/article_attach/11378/15693.pdf.

Kerschan-Schindl, K., Uher, E., Kainberger, F., Kaider, A., Ghanem, A.Long-team home exercise program : effect in women at high risk of fracture.Archives of Physical Medicine and Rehabilitation 2000;81: 319-323.

Illespie, l.d., Robertson, M.C., Gillespie, W.J., lamb S.E., Gates, S., et al.(2009). interventions for preventing falls in older people living in the community. cochrane database.

Orem, D.E. Nursing: Concepts of practice 2001. St. Louis: Mosby.
Rubenstein, L.Z.Fall in older people : epidemiology , risk factors and strategies for prevention.Age and Ageing an overview 2006 : 37-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite