ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8

ผู้แต่ง

  • Orathai Onchaona
  • Theppasak Boonyarataphan

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 (2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น

                        การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ  ประชากรคือพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 รวมจำนวนประชากร 789 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 จำนวน 266 คนด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และแบบสัมภาษณ์ ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ

                ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และพบว่า ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 แต่ละสำนักงานมีความแตกต่างกัน (2) ปัจจัยด้านระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านสมรรถนะ ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 มาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงสถานการณ์ทางการเมือง และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานได้แก่ พนักงานขาดทักษะ ความรู้ ความชำนาญทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า   มีคู่แข่งขันจำนวนมากทั้งทางตรงและทางอ้อม และข้อจำกัดทาง กฎ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับของธนาคาร (4) ข้อเสนอแนะในการนำนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 มีผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ควรให้ความสำคัญกับการนำ ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หลักด้านแรงจูงใจ หลักสมรรถนะ และหลักการจัดการเชิงกลยุทธ์ มาใช้เป็นกรอบในการบริหารการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8

References

ธนาคารออมสิน พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489

--------------. แผนวิสาหกิจธนาคารออมสิน พ.ศ.2554-2558

--------------. ระเบียบธนาคารออมสินฉบับที่ 527 ว่าด้วยนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี พ.ศ.2556

--------------. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ.2556-2560

--------------. คู่มือพจนานุกรมเชิงสมรรถนะของตำแหน่งงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

--------------. ค่านิยมองค์กร ธนาคารออมสิน

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2554) การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ กรุงเทพมหานคร เอช อาร์ เซ็นเตอร์

วิเชียร วิทยอุดม (2554) “การจูงใจ” การจัดการสมัยใหม่ บทที่ 3 หน้า 13-1,2-7 กรุงเทพมหานคร ธนธัช

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (2553) “ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ" (เกณฑ์และวิธีการประเมิน)

ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา (2555) การจัดการเชิงกลยุทธ์เทคโนโลยีและนวัตกรรม หน้า 8-10กรุงเทพมหานครจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite