การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธในล้านนา

ผู้แต่ง

  • Patanchai Wayuchoti

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระธาตุและการบูชาพระธาตุในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธในล้านนา และเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธในล้านนา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาภาคเอกสาร และการศึกษาภาคสนาม โดยวิธีสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในแต่ละพื้นที่ศึกษา ได้แก่ พระบรมธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน, พระบรมธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย และพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

              ผลการวิจัยพบว่า พระธาตุเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเปรียบเสมือนเป็นวัตถุบูชาอันเป็นรูปธรรมที่สุดที่เกี่ยวเนื่องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วิธีการบูชาพระธาตุในสมัยพุทธกาลนั้น มิได้กล่าวถึงรูปแบบหรือวิธีการใดไว้ตายตัว แต่จะให้ความสำคัญกับเจตนาของผู้บูชาเป็นที่ตั้ง คือหากบุคคลบูชาด้วยจิตใจเลื่อมใสก็ย่อมได้รับอานิสงส์จากกาบูชานั้น ส่วนการบูชาพระธาตุของชาวพุทธในล้านนานั้น เป็นความศรัทธาต่อพระธาตุในฐานะแห่งความเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่บรรพบุรุษได้เคารพสืบต่อกันมา และในฐานะแห่งความเป็นวัตถุบูชาอันสูงค่าในพระพุทธศาสนาคือเป็นพระอัฐิของพระพุทธเจ้าประการหนึ่ง โดยพิธีกรรมที่เป็นการแสดงออกถึงความเคารพศรัทธาต่อพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ของตนที่ชาวบ้านในพื้นที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานก็คือ พิธีกรรมสรงน้ำพระธาตุ ซึ่งได้จัดให้มีขึ้นเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่ในแต่ละพื้นที่เป็นประจำทุกปี โดยพระธาตุนั้นมีบทบาทและความสำคัญต่อบุคคล ชุมชนและพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ เป็นสัญลักษณ์และเป็นเครื่องสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้แก่ประชาชนในชุมชน เป็นกุศโลบายให้บุคคลได้ปฏิบัติธรรม เป็นเครื่องมือขัดเกลาทางสังคม และเป็นสิ่งที่ช่วยสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนทั้งแก่ชุมชนและประเทศ

References

ทศพล จังพานิชย์กุล. (2548). พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ. กรุงเทพมหานคร : คอมม่า.

ธงทอง จันทรางศุ และคณะ.(2534). มหาธาตุ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนธร กิตติกานต์. (2557). มหาธาตุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.

ธาดา สุทธิธรรม. (2542). สถาปัตยกรรมไทย. ขอนแก่น : ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๓๙. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2546). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏ-ราชวิทยาลัย.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ความหมายพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ.

สมหมาย เปรมจิตต์และคณะ. (2524). พระเจดีย์ในลานนาไทย. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิทธิพร เนตรนิยม. (2552). พระธาตุ : กุสลลักข์ในพุทธศาสนา หมุดหมายทางภูมิศาสตร์ในอุดมคติถึง เครือข่ายชุมชนล้านนาในแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน. เชียงใหม่ : บริษัทธารปัญญา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite