ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Surang Boonyapongchai

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ    คำนวณหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ    ซึ่งเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในสมการ และประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรจากแบบจำลอง    พบว่า  ตัวแปรอิสระ    ได้แก่   อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์ สรอ.    อัตราเงินเฟ้อ   เงินลงทุนจากต่างประเทศ   อัตราส่วนราคาต่อกำไร    ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน    ดัชนีราคาผู้บริโภค    อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ  3 เดือน    ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแปรพยากรณ์เข้าสมการเพื่อพยากรณ์  ตัวแปรตาม     (เนื่องจากค่า Sig. มีค่าน้อยกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  )   จึงยอมรับสมมติฐาน  H1 ( ตัวแปรอิสระมีผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์) และปฏิเสธสมมติฐาน H0  ส่วนตัวแปรอิสระ  อัตราดอกเบี้ยซื้อคืน      และ ค่าคงที่  ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแปรพยากรณ์เข้าสมการเพื่อพยากรณ์ ตัวแปรตาม  (เนื่องจากค่า Sig. มีค่ามากกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05)  จึงยอมรับสมมติฐาน H0 (ตัวแปรอิสระไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ )  และปฏิเสธสมมติฐาน  H1    และจากสมการ  เพื่อประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระ  พบว่า  ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยพิจารณาจากเครื่องหมายสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปรอิสระมีเครื่องหมายเป็นบวก แสดงว่า ปัจจัยอิสระที่มีผลในทิศทางเดียวกันกับดัชนีราคาหลักทรัพย์    ได้แก่     Foreign   Trading / Million  Baht       อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น/ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ   ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน     ดัชนีราคาผู้บริโภคภายในประเทศ       อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ณ  ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ  95    ส่วนปัจจัยที่มีผลในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนีราคาหลักทรัพย์โดยพิจารณาจากเครื่องหมายสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปรอิสระมีเครื่องหมายเป็นลบ    ได้แก่  อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์ สรอ.       อัตราเงินเฟ้อ     อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรประเภท 14 วัน      การทดสอบโดยประมาณด้วยค่าสถิตินั้น  จะเห็นว่า    R  =   .973   แสดงว่า   ตัวแปรอิสระทั้งหมดในแบบจำลองสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของตัวแปรตามคือ  ดัชนีราคาหลักทรัพย์  ได้ร้อยละ  97.30  และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่ถูกปรับค่าแล้ว   มีค่าเท่ากับ .941  คือ  ตัวแปรอิสระทั้งหมดในแบบจำลองสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของตัวแปรตาม   ได้ร้อยละ  94.10  ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ  5.90   เกิดจากสาเหตุอื่นๆ     ส่วนค่า  Durbin-Watson   =   .976  หมายความว่า     ค่าความคลาดเคลื่อนมีความในทิศทางบวก  และยิ่งเข้าใกล้ศูนย์   ยิ่งมีความสัมพันธ์กันมาก

References

[1] มนต์ทกานต์ เธียรเนตินันท์. 2547. ปัจจัยที่มีผลต่อการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[2] ประทัสน์ ตันเจริญ. 2546. การวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน
ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[3] พิเชษฐ คล่องสารา. 2548. ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มี ผลกระทบต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ของ
กลุ่มสถาบันการเงิน. สารนิพนธ์ ปริญญา เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิ ต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[4] ยุทธนา กระบวนแสง.2546. ปัจจัยที่กำหนดการเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
ไทย. สารนิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[5] นครินทร์ ปาร์มวงศ์. 2550. ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ กำหนด ดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite