การพัฒนาต้นแบบการออกแบบสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์เกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมไทย
บทคัดย่อ
ประเพณีไทยและวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่คู่ประเทศไทยมานาน เป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าส่งเสริมให้เกิดจริยธรรมที่ดีงาม และควรอนุรักษ์และส่งเสริม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันประเพณีและวัฒนธรรมไทยเริ่มถูกหลงลืมจากเด็กไทย เนื่องจากมีการไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาจำนวนมาก งานวิจัยนี้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบต้นแบบการออกแบบการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมไทย และ 2) ประเมินต้นแบบการออกแบบเกม ดำเนินการวิจัยโดยประยุกต์ใช้วัฏจักรการพัฒนาระบบ กระบวนการทางคุณภาพดีเมอิก และกระบวนการออกแบบตามหลักการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการออกแบบต้นแบบการออกแบบเกม คือ ได้ต้นแบบการออกแบบจำนวน 4 ต้นแบบ และ 2) ผลการประเมินและเลือกต้นแบบการออกแบบ พบว่า ต้นแบบการออกแบบที่ 3 ได้รับคะแนนการประเมินสูงสุด คือ 4.00 และเป็นต้นแบบการออกแบบที่ผู้เชี่ยวชาญเลือกเป็นอันดับ 1 ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยที่กล่าวมาข้างต้น
References
กระทรวงวัฒนธรรม.
จารึก ชูกิตติกุล. (2548). เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ : ปรัญญา สาระ และวิทยานิพนธ์.
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง, 1 (8), 1-16.
ณัฐกร สงคราม และอัญชลี แซ่ลู่. (2548). การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เสริมความรู้ทางการเกษตรเรื่อง การปลูก
ผักคะน้า. วารสารพัฒนาการเกษตร, 1, 2.
พระครูพิสณฑ์กิจจาทร (เทิดทูน เชื้อเงินเดือน). (2554). ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีลอยกระทง.
(ปริญญาโท). นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์.
พินัย วิลัยทอง และ ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี. (2557). การศึกษาประเพณีแห่ช้างผ้า ชุมชนเมาะหลวง อำเภอ
แม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม. ขอนแก่น
: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2556. จากบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น http://gsbooks.gs.kku.ac.th
มติชนออนไลน์. (2556). ผลสำรวจยอดเด็กไทยติดเกม-เล่นออนไลน์ปี′56 พุ่งเกือบ 3 ล้านคน. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 14 ธันวาคม 2556. จากมติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th
สกุล สุขศิริ. (2550). ผลสัมฤทธิ์ของสื่อการเรียนรู้แบบ Game Based Learning The Study of Effectiveness
of Game Based Learning Approach. (ปริญญาโท). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สมภพ วชิรพงศ์. (2543). การวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็กในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์. (ปริญญาโท).
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีสุดา ด้วงโต้ด ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ (2557). การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เพื่อการ
สอนวิชาคอมพิวเตอร์บูรณาการคณิตศาสตร์, วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้า
พระนครเหนือ, ปีที่ 5. Alex Frazer. (2010). Towards Better Gameplay in Educational Computer
Games. (PhD). United of Kingdom : University Of Southamton.
Alan A., Kavin N., Jacky V. and Claudia A. (1999). The use of computer games as an educational tool
: identication of appropriate game types and game elements. British Journal of Educational
Technology. 30 (4), 311-321.
Brad Paras and Jim Bizzocchi. (2005). Game, Motivation, and Effective Learning : An Integrated
Model for Educational Game Design. Canada : Simon Fraser University Surrey.
DiGRA 2005 Conference.
Jacob, N. (2000). Designing Web Usability. Indianapolis : Newriders Publishing.
Kohlberg, L. (1973). The Claim to Moral Adequacy of a Highest Stage of Moral Judgment. Journal
of Philosophy, 70 (18), 630-646.
Thomas W. Malone. (1984). Human factors in computer systems. United State : Ablex Publishing.