ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน : กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยอื่น
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3, 4 และ 5 ที่กำลังศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ 4 แห่ง และมหาวิทยาลัยอื่น 4 แห่ง รวม 678 คน เก็บรวบข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง วิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 18 องค์ประกอบ เมื่อพิจารณาจาก ค่าไคสแควร์ เท่ากับ 78.85 ที่องศาอิสระเท่ากับ 66 ค่า p เท่ากับ 0.13 ดัชนี GFI เท่ากับ 0.99 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.016 และค่า AGFI เท่ากับ 0.97 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน โดยภาพรวมมีระดับความน่าเชื่อถือ (R2) เท่ากับ .74 ได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตน (.26) รูปแบบการเรียนการสอน (.19) เจตคติต่อการเรียน (.19) ความฉลาดทางอารมณ์ (.15) พฤติกรรมผู้สอน (.11) บรรยากาศการเรียนรู้ (.08) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (.02)
References
_______. (2548). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ : การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. The Journal of the Royal nstitute of Thailand, 36(2), 188–204.
สมจิต สวธนไพบูลย์. (2535). ธรรมชาติวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและ
การสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาประเมินมาตรฐาน. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สาขาประเมินมาตรฐาน. สถาบันฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. กลุ่มพัฒนานโยบาย
อุดมศึกษา. (2554). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559).
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2564). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร:สำนักฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ผลการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดการจุดอ่อน ของประเทศไทยจากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน โดย WEF และ IMD. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.
Krathwohl, D. R. (2002). A revision of Bloom’s taxonomy: An overview. Theory into practice, 41(4), 212–218.
Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at work: models for superior performance.
New York: Wiley.