การสร้างกลุ่มอาชีพหัตถกรรม และสินค้าเครื่องประดับจากดินปั้น (บ้านไอดิน) อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • Phatcharin Khrueathep

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพหัตถกรรมจากดินปั้น(บ้านไอดิน)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเลือกซื้อสินค้าเครื่องประดับจากดินปั้น (บ้านไอดิน)  และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนากลุ่มอาชีพหัตถกรรมสินค้าผลิตภัณฑ์จากดินปั้น (บ้านไอดิน)               โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ประกอบการ  ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์  สินค้าเครื่องประดับจากดินปั้น (บ้านไอดิน) อำเภอเมือง  จังหวัดตาก  เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทางราชการกลุ่มส่งเสริมงานด้านสินค้า OTOP  คือ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตาก  เจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก  และผู้นำชุมชน  ผู้วิจัยได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน  5  คน  ส่วนกลุ่มผู้บริโภค ผู้วิจัยได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random Sampling) จำนวน 300 คน  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  แบบสอบถามประมาณค่า     5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัญหาจากการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพหัตกรรมจากดินปั้น(บ้านไอดิน) มี 3ด้าน คือ ด้านการผลิตที่ไม่ทันตามกำหนดเวลา ด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ และด้านการหาช่องทางการตลาด
  2. ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกซื้อสินค้าเครื่องประดับจากดินปั้น (บ้านไอดิน)

โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่เลือกซื้อเพื่อความสวยงาม มีลักษณะเรียบง่าย  รองลงมาคือด้านการออกแบบ ซึ่งมีตราสินค้าที่ชัดเจน ช่วยอนุรักษ์เอกลักษณ์ไทย และมีราคาที่เหมาะสม

 

 

  1. แนวทางในการพัฒนากลุ่มอาชีพหัตถกรรมสินค้าผลิตภัณฑ์จากดินปั้น (บ้านไอดิน)

อำเภอเมือง จังหวัดตาก  ด้านการผลิตสินค้าที่ไม่ทันตามกำหนดเวลา ควรมีแนวทางในการรับสมัครพนักงานเพิ่ม มีการฝึกอบรมวิธีการปั้นในรูปแบบต่าง ๆ ด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ ควรมีนำวัสดุ

จักสานมาออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้า ใช้วัสดุที่สร้างแรงจูงใจให้ซื้อสินค้า  และด้านการหาช่องทางการตลาด ควรมีการจัดนิทรรศการนำเสนอสินค้า การเปิดร้านใหม่ตามศูนย์การการค้า  การส่งตัวแทนไปนำเสนอสินค้าให้กับร้านค้าเครื่องประดับ  และเปิดช่องทางการขายในระบบออนไลน์

References

กรมการพัฒนาชุมชน . 2553 . การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.

กรมการพัฒนาชุมชน . 2553. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกลุ่มอาชีพด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด และการจัดการทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

กฤษติญา มูลศรี. (2551). ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชุมชน. รายงานการวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ .2543. หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

สมศิริ พรมมูล . 2543. การประดิษฐ์และสร้างสรรค์ช่อดอกไม้. นนทบุรี :บริษัท เอช-เอน กรุ๊ป จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.2533 . ทิศทางแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 . เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2553 ของ สศช. วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2553 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตาก. 2553. การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.
2553. จังหวัดตาก :สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตาก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite