การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่ร่วมวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในการพัฒนานิสัยรักการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่ร่วมวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 12 คน
โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผน ขั้นที่ 2 ขั้นการปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นการสังเกต ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบวัดพฤติกรรมนิสัยรักการอ่าน แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตพฤติกรรมรักการอ่าน
ผลการวิจัยพบว่า
- ขั้นการวางแผน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.67, = 0.66) และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน
- ขั้นการปฏิบัติ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับมาก ( = 3.88, = 0.70)
- ขั้นการสังเกต พบว่า นิสัยรักการอ่านของนักเรียนก่อนได้รับการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ย (=53.33) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (=4.44) และหลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ย (=77.58) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (=7.39)
- ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่าน หลังจากได้รับการพัฒนาแล้ว นักเรียนมีการพัฒนาขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.25
References
กิตติพร ปัญญาภิญโญผล. (2540). รูปแบบของวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน :กรณีศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เคมมิสและเมกเทกการ์ต. (2538). นักวางแผนวิจัยปฏิบัติการ (แปลจาก The Action Research Planner โดย ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรม วิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
จัณฑ์ฑิตา พฤกษานานนท์. (2543). การสร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูก. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล.(2543). การวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุวมิตร. (2542). รักการอ่าน : พฤติกรรมที่สร้างได้. สานปฏิรูป. 2(15) : 46-47.
รัตนาพร สงวนประสาทพร. (2541). กิจกรรมวิจัยและพัฒนานักอ่านรุ่นเยาว์โรงเรียนประถมศึกษาในชนบท. ค้นเมื่อ เมษายน 8, 2554 จากhttp://www.sobkroo.com/r_2.htm
สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธา.
อันธิกา วงษ์จำปา. (2549). การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิยาลัยศิลปากร.
Bogdan, R, & S.K. Biklen. (1982). Qualitative Rssearch for Education: An Inteoduction to Theory and Methods. Boston:Allya and bacon.
Crutcher, Randall Scott. (2003). “An Action Research Study: The Development of an Action Learning Model for the Transformation of Leadership in the CaliforniaConservation Corps,” Dissertation Abtracts International. 63(8): 2929-A February.
Eileen Ferrance. (1985). Action research themes in educational. northeast and islands regional laboratory at Brown University.
Fouch, G.E. , (1980). Evaluating Educational Research Washington, D.C. University press of America.
Mingucci, Monica Marcolin. (2002). “Action Research as ELS. Teacher Professional Development” Dissertation Abtracts International. 63 (8): 2929-A: August.