การมีส่วนร่วมของธุรกิจชุมชนในการจัดทำบัญชี

ผู้แต่ง

  • Woralak Wannalo

บทคัดย่อ

การบัญชี คือ การเก็บรวบรวม บันทึก  จำแนก  และสรุปผลข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ในรูปของตัวเงินรอบระยะเวลาหนึ่ง การบันทึกบัญชีต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของแต่ละประเภทกิจการ และต้องมีรายงานย่อว่าแต่ละงบการเงินต้องมีรายการอะไรบ้างตามที่กำหนดไว้ 5 แบบ

ธุรกิจชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนจึงมีความสำคัญเพราะสามารถสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ และสร้างความเป็นธรรมในสังคมเพื่อลดช่องว่างรายได้ระหว่างกลุ่มคนและพื้นที่ต่างๆ เพราะช่วยให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญก้าวหน้ามั่นคง มาตรฐานการดำเนินชีวิตดีขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สร้างรายได้ อาชีพมั่นคงยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีมีสุข การจัดทำบัญชีเป็นหน้าที่หนึ่งที่ธุรกิจชุมชนต้องทำเพื่อจะได้ทราบผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง ข้อมูลทางการเงินที่ได้จากการจัดทำบัญชีเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ  

ปัญหาที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนคือผู้ทำบัญชีไม่มีความรู้ ไม่ถนัด เพราะไม่ได้จบทางบัญชี เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการจัดทำบัญชีให้เหมาะสมกับธุรกิจชุมชน ตรงความต้องการของชุมชน โดยกระบวนการให้ธุรกิจชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมตัดสินใจ  เกิดการยอมรับปฏิบัติได้จริงรายงานที่ได้มีความถูกต้อง ความครบถ้วน และทันเวลายืดหยุ่นสอดคล้องต่อความต้องการการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวางแผนในอนาคต ธุรกิจชุมชนอยู่รอดอย่างมีความสุขและยั่งยืน มิใช่หน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นผู้กำหนดให้อย่างเช่นทุกวันนี้

References

กระทรวงพาณิชย์, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2543). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543.นนทบุรี
_______. (2554) . คำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554.28 กันยายน 2554.
กลุ่มส่งเสริมพัฒนาการบัญชีชุมชน แนวทางการปฏิบัติงานโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนปี 2556
สำนักส่งเสริมพัฒนาการบัญชีและถ่ายทอดเทคโนโลยี
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). ความหมายของวิสาหกิจชุมชน.สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2557,
จาก http://www.sceb.doae.go.th
กรมสรรพากร. (2557).คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน.สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2557, จาก http://www.rd.go.th
เกษตรจังหวัดเชียงราย. (2554).ธุรกิจชุมชนขนาดเล็กในท้องที่จังหวัดเชียงราย จากฐานข้อมูลธุรกิจ
ขนาดเล็กในจังหวัดเชียงราย 68 ราย สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2557, จาก http://www.Thaitambon.com
ภรทิพย์ นิลมณี (2551) รูปแบบการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : อำเภอนาหม่อม
จังหวัดสงขลา:มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
เมธากุล เกียรติกระจายและศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2544).ทฤษฎีการบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ 9).
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โยธิน แสวงดี. (2530). การสนทนากลุ่ม. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 2(3), 12-37. นครปฐม:
มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
วัชรี ฮั่นวิวัฒน์ (2554) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด
นครศรีธรรมราช.การค้นคว้าอิสระวิชาเอกการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล
ธัญบุรี
วิชิต นันทสุวรรณ.(2547).วิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นกับการพัฒนาประเทศ.สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน
2557, จาก http://atitha yapan.blogspot.com
ศิริพร ศิริปัญญวัฒน์และคณะ.2550.ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ในภาคเหนือ:สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูประถัมภ์. (2554). มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กรุงเทพฯ:
_______. มาตรฐานการบัญชี กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด 2540-2544
_______. นิยามศัพท์ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด 2554
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.(2549)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
_______. สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม.(2554)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
สุภาพร เพ่งพิศ .(2553). ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. สืบค้น 9 เมษายน 2557,จาก http://www.basju.net/jum/research.htm
สุมนา เศรษฐนันท์. (2544). การจัดทำบัญชีและงบการเงินตามพระราชบัญญัติการบัญชี
พ.ศ.2543 (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค .
สุวรรณ หวังเจริญเดช.2548.การปรับตัวของนักบัญชีภายใต้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีวิชาชีพ.
สืบค้น 9 เมษายน 2557,จากhttp://library.cmu.ac.th
อคิน รพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การศึกษานโยบาย สาธารณสุข, 2547.
อภิญญา กังสนารักษ์. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของ
สถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
อัมพร เที่ยงตระกูล.2551.ผลกระทบของความรู้ ความรู้ความสามารถของนักบัญชี การสนับสนุน
ของผู้บริหารและแรงกดดันจากสังคมที่มีต่อประสิทธิภาพการบัญชีสิ่งแวดล้อมของธุรกิจ
ที่ได้รับ ISO 14001 สาขาอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย. สืบค้น 9 เมษายน 2557,
จาก http://www.dpu.ac.th/ltic/page.php?id=5415

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite