การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คำสำคัญ:
กิจกรรมการถ่ายทอด, เทคโนโลยีดิจิทัล, โรงเรียนพระปริยัติธรรม, การสอนงานแบบมีส่วนร่วม, Transfer Activity, Digital Technology, Schools of Religious Education, Collaborative Coachingบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลของนักศึกษาครูและเพื่อให้ได้ข้อมูลวิธีการและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาทักษะของ นักศึกษาเป็นรายบุคคล กลุ่มทดลองใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักศึกษาที่เรียนรายวิชานักศึกษาที่เรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในภาคเรียนที่ 2/2555 จำนวน 80 คน วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้วิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะการสืบค้นข้อมูล แบบประเมินทักษะการสืบค้นข้อมูล แบบสรุปการวิเคราะห์ทักษะการสืบค้นข้อมูล แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติแบบที และวิเคราะห์ความแปรปรวน แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis )
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ผลการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลของนักศึกษา พบว่า ก่อนเรียนและหลังเรียน ตามกระบวนการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลของนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความทันสมัยของข้อมูล รองลงมา ได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลและด้านแหล่งการเรียนรู้ตามลำดับ การวิเคราะห์กระบวนการสืบค้นข้อมูลของนักศึกษา โดยวิธีการสัมภาษณ์ พบว่า ก่อนเรียนไม่มีการเตรียมตัววางแผนเนื้อหา มีวิธีการสืบค้นข้อมูล เป็นการนำข้อมูลเท่าที่หาได้มารวบรวมกัน แล้วพิมพ์ส่ง โดยไม่ได้เรียบเรียงใหม่ หลังเรียนมีการเตรียมตัววางแผนเนื้อหาที่ต้องการสืบค้นไว้ล่วงหน้า โดยการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาผู้เรียนพยายามสืบค้นเนื้อหาจากคำสำคัญต่างๆ ที่อาจารย์ได้ให้ไว้ และเมื่อผลงานได้รับคำชมจากอาจารย์ผู้สอนจะเกิดกำลังใจในการค้นหา สามารถนำทักษะการสืบค้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่มีแหล่งเรียนรู้จากเว็บไซต์ และใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมง ไม่เสียค่าใช้จ่ายจากการเรียนรู้ ใช้คอมพิวเตอร์และวีดีโอประกอบการค้นคว้า
- ผลการหาวิธีการและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาทักษะของ นักศึกษาเป็นรายบุคคล พบว่ามี 5 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดหัวข้อที่ใช้ในการสืบค้นให้นักศึกษา โดยวัดทักษะการสืบค้นก่อนเริ่มกระบวนการ2) มอบหมายงานตามประเด็นหัวข้อที่กำหนดไว้เป็นงานกลุ่ม โดยไม่อธิบายกระบวนการสืบค้นข้อมูล หลังจากนั้นนำรายงานมาประเมินทักษะการสืบค้นข้อมูล 3) มอบหมายงานตามประเด็นหัวข้อที่กำหนดไว้เป็นงานเดี่ยว โดยไม่อธิบายกระบวนการสืบค้นข้อมูล และทำการประเมินผลรายงานการสืบค้นข้อมูล ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ในเรื่องการวางแผน ระยะเวลาที่ใช้ แหล่งข้อมูล วิธีการสืบค้น การบันทึกข้อมูล/จัดระบบข้อมูล การสะท้อนผลจากการสืบค้น 5) ติดตามผลการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูล โดยการมอบหมายงานเดี่ยว และทำการประเมินผลรายงานการสืบค้นข้อมูล ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 6) เปรียบเทียบผลการพัฒนาทั้งแบบงานกลุ่ม งานเดี่ยว และการติดตามผล สรุปผลและจัดทำรายงานผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
References
ในการสอนฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 6(1), 7 - 17.
ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น. (2549). กลยุทธ์การสืบค้นและความคิดเห็นต่อสารสนเทศที่ได้จากเว็บของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารสงขลานครินทร์
ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 13(3), 432-453.
ดวงใจ วัดปาน. (2549). การเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ที่ได้รับการสอน แบบโครงการและการสอนตามคู่มือครู. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง. ราชบุรี.
ทัชสน พฤฒเศรณี. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมกับการเลือกใช้บริการระบบอินเตอร์เน็ตใน การสืบค้นข้อมูลของนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสต รมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพมหานคร.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราโมทย์ เหลาลาภะ. (2549). การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การสืบค้นสารสนเทศบนเวิลด์ไวด์เว็บ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร:
พริกหวานกราฟิก.
ศรีสุภา นาคธน. (2548). สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และการค้นคืน. ลพบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทพสตรี.
สมบัติ สุวรรณพิทักษ์. (2542). เทคนิคการสอนแนวใหม่ : สำหรับการศึกษานอกโรงเรียน.กรุงเทพมหานคร: รังษีการพิมพ์.
สายสุนีย์ คำวรรณะ. (2551). การศึกษาทักษะการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้โปรแกรมค้นหา ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัยมูลคำ. (2550). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
อาภาลัย สุขสำราญ .(2552) .การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญา พื้นบ้านของนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์. ( 2539).คลื่นลูกที่สาม.กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์
Brookfield, S.D. (1984). Self-Directed Adult Learning : A Critical Paradigm. Adult Education Quarterly. 35(2), 59-71.