ทรรศนะของประชาชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • Kamonpan Tana

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ทรรศนะของประชาชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรรศนะของประชาชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนและเพื่อเปรียบเทียบทรรศนะของประชาชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย จำแนกตามภูมิหลังของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง 375 คน โดยใช้วิธีการศึกษา คือ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า  t - test วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way ANOVA) จำแนกตามภูมิหลังของประชาชน และวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (The Scheffe’s Method)

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 40 – 49 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพรับจ้าง และส่วนใหญ่มีรายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน
  2. ทรรศนะของประชาชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบล แม่ลาน้อย โดยภาพรวมทรรศนะของประชาชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ลาน้อยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านงานบริหารบุคคล อยู่ในระดับมาก เป็นลำดับที่ 1 ด้านงานบริหารอาคารสถานที่ เป็นลำดับที่ 2 ด้านงานบริหารวิชาการ เป็นลำดับที่ 3 และด้านงานบริหารกิจการนักเรียน เป็นลำดับที่ 4 ส่วนลำดับสุดท้าย คือ ด้านงานชุมชนสัมพันธ์
  3. การเปรียบเทียบทรรศนะของประชาชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีทรรศนะต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กนกกาญน์ จันทรวงศ์. (2554). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอขนอมจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

นภาภรณ์ หะวานนท์และคณะ. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาเงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานของคณะกรรมการโรงเรียน. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องการศึกษาเงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานของคณะกรรมการโรงเรียนจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติวันที่ 25 สิงหาคม 2543. โรงแรมปรินซ์พาเลสกรุงเทพมหานคร.

ราตรี บุราณสาร. (2552). ทรรศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านซับสนุ่นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฎิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : มติชน

ลิตา อุ๋ยธีรทัต. (2552). ทัศนคติของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลรัษฎาจังหวัดภูเก็ต.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

อุดมลักษณ์ คำลือ. (2553). ทรรศนะต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite