การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เชิงสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพครูยุคใหม่
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทักษะทางสังคมที่จำเป็นต้องพัฒนาสำหรับวิชาชีพครูยุคใหม่ตามความต้องการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนบน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เชิงสังคมเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพครูที่วิเคราะห์ได้ และ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เชิงสังคมเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพครูยุคใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น โดยใช้กระบวนการ Mixed Methodology เก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพครูยุคใหม่ มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนบน จำนวน 117 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 80 คน นักศึกษาคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 376 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักศึกษาคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 40 คน และระยะที่ 3 ศึกษาการใช้และผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน มีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 45 คน
ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ทักษะทางสังคมที่จำเป็นในแต่ละด้านทั้ง 3 ด้าน ที่กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มเลือกเป็นอันดับแรก ได้แก่ การตัดสินใจร่วมกันอย่างมีวิจารณญาณ (ด้านความสามารถ) ความรับผิดชอบ (ด้านคุณลักษณะ) และความมีจิตอาสา (ด้านคุณธรรม) 2) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เชิงสังคมเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพครูยุคใหม่ มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 8 ขั้น ได้แก่ ขั้นตรวจสอบผู้เรียน ขั้นพิจารณาปัญหาและจัดกลุ่ม ขั้นศึกษาค้นคว้าผ่านการปฏิสัมพันธ์ภายนอก ขั้นเพิ่มความยาก ขั้นกระตุ้นและช่วยเหลือ ขั้นแลกเปลี่ยน เรียนรู้และแบ่งปันขั้นสร้างความรู้ภายในตนเอง และขั้นประเมินผล โดยรูปแบบการเรียนการสอนนี้มีจุดเด่นอยู่ที่การส่งเสริมการเรียนรู้ในบริบททางสังคมที่เน้นการร่วมคิดร่วมทำ ช่วยเหลือแบ่งปันในการเรียน การเพิ่มความยากในงานซึ่งทำให้นักศึกษาได้ร่วมมือกันคิดและดำเนินงานต่างๆ รู้จักบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบในตนเอง รู้จักใช้เหตุผลในการตัดสินใจร่วมกัน และช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ภายในตนเองด้วย 3) ภายหลังจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักศึกษามีทักษะทางสังคมทั้ง 3 ด้าน ในระดับมากเพิ่มจากก่อนเรียนซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และนักศึกษามีระดับความพึงพอใจในการเรียนการสอนรูปแบบนี้ในระดับมาก ทั้งด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้และด้านผลที่ผู้เรียนได้รับ
References
96-97.
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การวิจัยและพัฒนาศักยภาพของเด็กไทย. กรุงเทพฯ:
กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2544). คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนสำหรับครู. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จิราภรณ์ ศิริทวี. (2550). งานวิจัย เรื่อง จิตอาสาพัฒนาความเป็นมนุษย์. (เอกสารอัดสำเนา).
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และคณะ. (2553). บทสรุปผู้บริหาร รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
เรื่องการศึกษาแนวโน้มคุณลักษณะของครูไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2562). กรุงเทพฯ:
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
จันทรา ตันติพงศานุรักษ์ และชยพร กระต่ายทอง. (2554). การขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ประชาคม
“อาเซียน”. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2555 จากhttp://www.supbr4.com/download54/ASEAN002.ppt
โชษิตา ช่วยเมือง. (2540). การใช้เทคนิคสแคฟโฟล์ดในการฝึกทักษะการตัดสินใจ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
ศิลปศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
กรุงเทพฯ.
บรรชร กล้าหาญ. (2552). งานวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมพัฒนาจิตอาสาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประโยชน์ อุดมเดช. (2555). ครูมืออาชีพรับมือการสู่ประชาคมอาเซียน.สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2555
จาก http://77.nationchannel.com/video/198021/.
ปรีประภา สารีบุตร. (2553). งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะให้มีจิตอาสาของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 (ยมราชสามัคคี) จังหวัดนครราชสีมา
โดยใช้กิจกรรมกลุ่มและการชี้แนะ.นครราชสีมา: โรงเรียนเทศบาล 3 (ยมราชสามัคคี).
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
พรทิพย์ นิ่มแสง. (2548). การพัฒนาเหตุผลเเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมโดยใช้
กระบวนการกลุ่มแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับประะกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต. ภูเก็ต.
พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์. (2550). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ของนักเรียน
อาชีวศึกษาเอกชน. ปริญญาญาดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ. (2549). รายงานวิจัยโครงการเร่งสร้างคุณลักษณะที่ดี ของเด็กและเยาวชนไทย.
กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) และสำนักงาน
บริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
Bated, A.W. & Poole, G.. (2003). Effective Teaching in Higher Education: Foundations for Success.
San Frandisco, Calif.: Jossey-Bass.
Beck, Clive & Kosnik, Clare. (2006). Innovations in Teacher Education: A Social Constructivist
Approach. New York: State University of New York Press.
McWhorter, K.T. (1988). Study and Thinking Skills in College. Glenview, IL: Scott, Foresman
and Company.
Oldfather, Penny., Wesr, Jane., White, Jennifer & Wilmarth, Jill. (1999). Learning Through Children’s
Eyes: Social Constructivism and the Desire to Learn. Washington: American Psychological
Association.
Vygotsky, Lev Semyonovich. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological
Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press. [Online]. Available:
http://generative.edb.utexas.edu/classes/knl2008sum2/eweekly/vygotsky1978.pdf
(10 May 2011).
Williams, M. & Burden, R. (1997). Psychology for Language Teachers: A Social Constructivist
Approach. Cambridge: Cambridge University Press.