การพัฒนารูปแบบการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค

ผู้แต่ง

  • Yuthasin Chumanee
  • Kiatsuda Srisuk
  • Somsak Phuvipadawat
  • Nampueng Intanate

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) วิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค 2) สร้างรูปแบบและหาคุณภาพรูปแบบการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค

วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย  3  ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำมาสร้างตัวบ่งชี้ในการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค ประชากร  ได้แก่ ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิค อาจารย์วิทยาลัยเทคนิค  จาก 110 แห่ง ทั่วประเทศ  ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการประเมินผู้วิจัยใช้แนวคิดการประเมินของนีโว และประเมินความเหมาะสมรูปแบบการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค โดยทดลองใช้รูปแบบประเมินในวิทยาลัยเทคนิค 1 แห่ง โดยเลือกแบบเจาะจงวิทยาลัยที่พร้อมในการให้เข้าทดลองใช้รูปแบบการประเมิน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค ได้ 50 ตัวบ่งชี้ และเมื่อนำตัวบ่งชี้ทั้ง 50 ตัวไปวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยวิเคราะห์จากค่าดัชนีความสอดคล้อง ทำให้เหลือตัวบ่งชี้ 43 ตัว แล้วทำการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis) พบว่าตัวบ่งชี้ทั้ง 43 ตัวสามารถจัดกลุ่มเข้าองค์ประกอบ (Component) ได้จำนวน 3 องค์ประกอบ  สามารถอธิบายตัวบ่งชี้ได้ร้อยละ 69.161 ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการกำหนดชื่อองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1  การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2  การเตรียมความพร้อมด้านภาษาและเทคโนโลยี

                   องค์ประกอบที่ 3  การเตรียมความพร้อมด้านสังคมวัฒนธรรม

          2.สร้างรูปแบบและหาคุณภาพการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค 

การพัฒนารูปแบบการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิคในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการประเมินจากการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีของ นิโว (Nevo, 1983) ร่วมกับศึกษาผลการศึกษาและวิจัย สรุปเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค ได้  5 องค์ประกอบการประเมิน คือ 1) เป้าหมายการประเมิน 2) ขอบเขตการประเมิน 3) การดำเนินการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประเมิน  เครื่องมือประเมิน  วิธีการประเมิน  และระยะเวลาในการประเมิน  4) การตัดสินผลการประเมิน  ซึ่งประกอบด้วย เกณฑ์การประเมิน และโปรแกรมการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค  และ 5) การรายงานผลและการนำผลการประเมินไปใช้ 

  1. ผลการใช้รูปแบบการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค

         คะแนนการประเมินความพร้อมของคณะกรรมการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค พบว่าในองค์ประกอบที่ 3 ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีคะแนนมากที่สุด เท่ากับ 71.83 รองลงมาได้แก่ด้านภาษาและเทคโนโลยีมีคะแนน เท่ากับ 70.01 และด้านที่ต้องมีการพัฒนาตนเองในบางประเด็นเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้แก่ ด้านวิชาการ ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 36.48 เมื่อพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบการประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิทยาลัยเทคนิค ใน 4 ประเด็น ได้แก่  1) มาตรฐานการใช้ประโยชน์   2) มาตรฐานความเป็นไปได้ในการนำไปใช้   3) มาตรฐานความเหมาะสม และ 4) มาตรฐานความถูกต้องแม่นยำ นั้น มีค่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

References

กรมอาเซียน. (2557). ความเป็นมาของอาเซียน. [ระบบออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2557.
จาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20121128-163749-350622.pdf

กรมอาเซียน. (2557). ประเทศไทยกับอาเซียน. [ระบบออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2557.
จาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20121203-162828-142802.pdf

จุไรรัตน์ แสงบุญนำ. [ระบบออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558. จาก http://www.kruwandee.com/oldweb/news-id2317.html, 2558

ธีระ นุชเปี่ยม. (2557). เรียนรู้สู่อาเซียน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภาษกร อุระแสง. (2555). ทิศทางการศึกษาของไทยในบริบทประชาคมอาเซียน. [ระบบออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2555. จาก http://www.enn.co.th/3891

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 พ.ศ. 2552 – พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.

อนันท์ งามสะอาด. (2555). ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. [ระบบออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2556. จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=776228

อภิชาติ ศรีสอาด.และ พัชรี สำโรงเย็น. (2556). ก้าวใหม่ประเทศไทยภายใต้ AEC & 7 แนวคิดกูรูเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นาคา อินเตอร์มีเดีย.

อาภรณ์ แก่นวงศ์. (2554). การวิเคราะห์การจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาบนแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558. [ระบบออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2554.
จาก http://www.inter.mua.go.th/main2/article.php?id=180

Nevo, D. (1983). The Conceptualization of Educational Evaluation: An Analytical Review of the Literature . Review of Educational Research, 53 (1), 117-128.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite