การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุข ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุขตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศึกษาผลของการใช้หลักสูตร คือ 1) ความสุขของผู้เรียน 2) ความพึงพอใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 3) ความคิดความรู้สึกอื่นของผู้เรียนหลังสิ้นสุดการใช้หลักสูตรการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1)ระยะศึกษาความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร ทบทวนวรรณกรรมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ระยะพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร และ 3 ) ระยะนำหลักสูตรไปใช้และประเมินผลการใช้กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 51 คน ซึ่งสมัครใจลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ผ่านระบบเครือข่ายของสำนักทะเบียนและประมวลผลเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยหลักสูตรรายวิชาศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุขที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการใช้หลักสูตร คือ 1) แบบประเมินความสุขของผู้เรียน 2) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนและ 3) แบบประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังสิ้นสุดการเรียนการสอนซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด 2 คำถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent t-test) และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจัดหมวดหมู่เนื้อหาทั้งหมด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลการพัฒนาหลักสูตร ทำให้ได้รายวิชาศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุข ประกอบด้วยภาคทฤษฏี 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติการนอกสถานที่ 30 ชั่วโมง รายวิชานี้ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีทุกคณะและสถาบันของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2555 และเปิดสอนทุกภาคการศึกษาปกติเนื้อหาสาระหลักประกอบด้วยเรื่องชีวิตมนุษย์กับการศึกษาจิตตปัญญาศึกษาและความสุขจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ E-Learning ผ่านระบบ CMU Online ร่วมกับการใช้ facebook จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหลักของจิตตปัญญาศึกษา 5 เทคนิคได้แก่ 1) การฟังอย่างลึกซึ้ง 2) สุนทรียสนทนา 3) การน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ 4) การเฝ้ามองเห็นตามความเป็นจริงหรือการสงบนิ่งอยู่กับตัวเอง และ 5) การสะท้อนการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน 8 คาบ ในระบบ Online 7 คาบ และฝึกปฏิบัติการนอกสถานที่ 2 วันติดต่อกันโดยนอนค้าง 1 คืน
ผลการใช้หลักสูตร พบว่า
- กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสุขเฉลี่ยโดยรวมก่อนและหลังการใช้หลักสูตรไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาคะแนนความสุขเฉลี่ยรายข้อแล้วพบว่า มีจำนวน 18 ข้อที่คะแนนหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตร โดยมีจำนวน 4 ข้อที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ58.82 ที่คะแนนความสุขหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้
- กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความพึงพอใจในการเรียนรู้เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง และรายด้านมีตั้งแต่ระดับสูงถึงระดับสูงสุด โดยด้านการมีโอกาสก้าวหน้าและด้านสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนเรียน อยู่ในระดับสูงสุดทั้งสองด้าน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.71 และ 50.99 มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้านสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมเรียน และด้านโอกาสก้าวหน้าอยู่ในระดับสูงสุด ตามลำดับ
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรรายวิชาศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุข ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ รับรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าของเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน แม้ว่าคะแนนความสุขของผู้เรียนโดยภาพรวมก่อนและหลังการเรียนจะไม่แตกต่างกัน แต่ผู้เรียนก็ไม่เครียดในการเรียนและบอกว่าสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง แล้วเสนอว่าควรเปิดสอนในทุกภาคการศึกษา
References
mbasic.facebook.com/notes/รวมบทความและงานเขียนของ-โกวิท-วงศ์สุรวัฒน์ (20 June 2013)
คณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2552). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตาม
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2554). จิตตปัญญาศึกษา : ทางออกที่พอเพียงและพึงประสงค์ของสังคมไทย.
เอกสารประกอบการอบรม “เทคนิคการใช้จิตตปัญญาศึกษาในการจัดการเรียนการสอน”
ภายใต้โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อพัฒนาบัณฑิตไทย โดยผ่านเครือข่าย
บัณฑิตอุดมคติไทย ในวันศุกร์ที่ 29 – อาทิตย์ ที่ 31 กรกฏาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัย
ราชฎักอุตรดิตถ์. (อัดสำเนา)
จุไรรัตน์ ดวงเดือน.(2551). การส่งเสริมและความเป็นไปได้ในการใช้การจัดการศึกษาทั่วไปในการ
พัฒนานักศึกษาแบบองค์รวม เอกสารประกอบการบรรยาย ในการประชุมวิชาการการศึกษา
ทั่วไประดับประเทศ ครั้งที่ 4 วันที่ 19 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัด
เชียงใหม่.(อัดสำเนา)
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงแนวจิตต-
ปัญญาศึกษา. เอกสารประกอบการ ประชุมวิชาการประจำปี 2551 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล. (อัดสำเนา)
นฤมล อเนกวิทย์.(2552). การพัฒนาหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาล.วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.
ประเวศ วะสี.( 2550). มหาวิทยาลัยกับจิตตปัญญาศึกษาและไตรยางค์แห่งการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1).
กรุงเทพฯ: สำนักงานอำนวนการจัดพิมพ์.
ประเวศ วะสี.(2551) . มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทั่วไป. เอกสารประกอบการบรรยาย ในการประชุม
วิชาการการศึกษาทั่วไประดับประเทศ ครั้งที่ 4 วันที่ 19 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมโลตัส
ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต).(2553). ความสุข ทุกแง่ทุกมุม. (พิมพ์ครั้งที่ 1) . กรุงเทพฯ :
HOUSE OF DTP.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (online). Available: http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-
b42-01.htm (31 August 2012)
พิมพันธ์ เดชะคุปต์,พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี.(2551). การสอนคิดด้วยโครงงาน :
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
วิจักขณ์ พาณิช.(2551).เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ : การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาทางจิตวิญญาณ
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.(2552).ความสุขกับการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของมนุษย์ :
รวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัทอัมรินทร์
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.(2553). ระบบการศึกษาเปี่ยมสุข: ตามแนวปรัชญาความสุข
มวลรวมประชาชาติ.(พิมพ์ครั้งที่ 1 ). กรุงเทพฯ: บริษัท เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด.
สมบัติ สกุลพรรณ์,อัศวินี นามะกันคำ และสถิต วงศ์สุรประกิต (2548). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความ
พร้อมและความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการส่งเสริมการ
เรียนรู้ด้วยตัวเอง. พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.32( 4) ,36 - 52.
สมสิทธิ์ อัสดรนิธี (บรรณาธิการ).(2552).จิตปัญญาศึกษาคืออะไร.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:
21 CENTURY CO.,LTD.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2551). หาทางออกให้สังคมไทยด้วยจิตตปัญญาศึกษา. เอกสารประกอบการ
ประชุมวิชาการประจำปี 2551 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สภาวะการศึกษาไทยปี 2550/2551 “ ปัญหาความ
เสมอภาคและคุณภาพการศึกษาไทย” (พิมพ์ครั้งที่ 1) . กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552ก).สรุปความรู้จากการอบรม ”ภาวะผู้นำทางจิตตปัญญา
ศึกษา สู่มหาวิทยาลัย” หลักสูตรที่ 1 การเรียนรู้ด้วยหัวใจที่ใคร่ครวญ (Contemplative
Education).(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
อัคพงศ์ สุขมาตย์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัย
และพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Haynes,J.,D. 2005. “Contemplative Practice and Education of the Whole Person.”
(online). Available: http://www.contemplativemind.org/programs/academic/Haynes.pdf
(12 November 2010).
Lief, J. 2009.“Contemplative Education: The Spark of East and West Working Within.”
(online). Available: http://www.naropa.edu/conted/conted_primer.cfm (2 July 2009).
Lyubomirsky,S.(2008). The How of Happiness: A Scientific Approach to Getting the Life
You Want. New York : THE PENGUIN PRESS.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York:
Harcourt Brace and World Inc.
Tyler, Ralph. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction. Chicago:
University of Chicago Press