รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับโรงเรียนในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารบทเรียนจากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี

ผู้แต่ง

  • Supachoke Piyasant

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพของโรงเรียนในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ทำการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเข้าไปศึกษาภาคสนามเพื่อทำความเข้าใจบริบทของโรงเรียนใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ(Informal Interview) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indept Interview)  จากผู้บริหาร ครู  และคณะกรรมการสถานศึกษา ประกอบการสังเกต (Observation) และการศึกษาเอกสารจากโรงเรียนในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนมีวิธีปฏิบัติที่ดีจาก สพฐ. จำนวน 5 โรงเรียน ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล (Valid and Reliable) โดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปโดยการจำแนกชนิดของข้อมูล (Typological Analysis)และวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytical Induction)

 ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพของโรงเรียนในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี มีแนวคิดและหลักการจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ คือเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถสามารถประกอบอาชีพในท้องถิ่น โดยไม่ทิ้งถิ่นฐานที่อยู่ พึ่งตนเองได้ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ สามารถนำไปปฏิบัติหรือประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องการจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ สามส่วนได้แก่ ปัจจัยด้านศักยภาพของพื้นที่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายพัฒนาการศึกษา  และปัจจัยด้านกระบวนการของสถานศึกษาซึ่งดำเนินการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา  ที่ประกอบด้วย การบริหารจัดการทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการนิเทศช่วยเหลือ

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมนุมสกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2550). พัฒนาการการจัดการศึกษาของรัฐในชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง.
เอกสารวิชาการชาติและการพัฒนาชุด การศึกษากับชาติพันธุ์ ลำดับที่ 1 สถาบันวิจัยสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

ชินภัทร ภูมิรัตน์ .(2554). Retrieved from : http://www.siamrath.co.th/web/?q=12554

ทีมข่าวการศึกษา. (2554). Retrieved from : http://m.thairath.co.th/content/edu/198679

นงราม เศรษฐพานิช. (2533). การบริหารและการจัดการศึกษาของการมัธยมศึกษา : การส่งเสริม
เพื่อการประกอบอาชีพส่วนตัวและก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก. รายงานการ
วิจัย , สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ .

ประเวศ วะสี. (2555). Retrieved from : http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentld=238#
Tzs6Yfxzh50. Facebook .)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (19 ธันวาคม
2545). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก. 2545.

วิชัย ตันศิริ.(2550). อุดมการณ์ทางการศึกษา ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ.กรุงเทพ: หจก.สยามลดา.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์กรมหาชน). (2556). Retrieved from : http://www.hrdi.or.th/

สันติ บูรณะชาติ. (2552). รูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนฐานความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

สิริพันธ์ สุวรรณมรรคา ชญาพิมพ์ อสุาโห และปราวณียา สุวรรณณัฐโชติ (2554). แนวทางการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพ. ทุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน

สุมน อมรวิวัฒน์ (2555) การประชุมเสวนาวิชาการเวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล
ครั้งที่ 1 การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสัมมาอาชีพ ณ ศูยน์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
Retrieved from : http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentld=238# Tzs6Yfxzh50. Facebook .)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและถิ่น
ทุรกันดาร. (เอกสารอัดสำเนา)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). นิทรรศการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามโครงการ
การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและทุรกันดาร. (เอกสารอัดสำเนา)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553).แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาวิชาชีพ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554).การจัดการศึกษาด้านอาชีพสำหรับเด็กด้อย
โอกาสในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร.เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการจัดการศึกษา
ด้านอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร. 26 – 29 กรกฎาคม พ.ศ.
2554 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ.เชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). นวัตกรรมการจัดการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและ
ถิ่นทุรกันดาร. เชียงใหม่: หจก. ส.การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554).แนวทางการจัดหารศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการ
ประกอบอาชีพ:ข้อค้นพบจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ : หจก.ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์- การพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปีของการปฏิรูปการศึกษา
(พ.ศ. 2542 – 2551). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.
2552 – 2561). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). แนวทางการส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพตามเป้าหมายในแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง(พ.ศ. 2552 - 2559 ).กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานจำกัด.

สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (2555). แผนพัฒนาเด็กและ
เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช
กุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2550 – 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1. (2554). แผนปฏิบัติราชการการศึกษา ประจำปี
งบประมาณ 2554 กลุ่มจังหวัดที่ 16 (ภาคเหนือตอนบน 2) .เอกสารอัดสำเนา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2550). สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ . รูปแบบการจัดการ
เรียนการ สอนวิชาชีพ ม.ปป. , อัดสำเนา.

สวัสดิ์ อุดมโภชน์. (2543).การปฏิรูปการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพประเทศแคนาดา. รายงาน
การวิจัย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ : สํานักนายกรัฐมนตรี .

อมเรศ ศิลาอ่อน.(2552). บทสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. 18 พฤษภาคม 2552

อุทัย บุญประเสริฐ (2555 ) การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน การศึกษารากฐาน
ทางเลือกประเทศไทย. กรุงเทพ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Cambell, Roald F. and others. (1967) . Introduction to Education Administration. Boston :
Allyn and Bacon.

Creswell, John (2004). Educational Research: Planning, Conducting, and Evaluating
Quantitative and Qualitative Research. Prentice Hall. ISBN 9780131127906.

Dewey,J . Democracy and Education. The Free Press Macmillan.Co.,1944

Jones, C., (2004). Quantitative and Qualitative Research: ConflictingParadigms or
Perfect Partners. Accessed via http://www.shef.ac.uk/nlc2004/Proceedings
/Symposia/Symposium4

Minneapolis Public Schools.(2002) . Accountability for All. Reteieved from
http://www.ed.qov/pubs/PromPactice/chapter7.html. June 10.

Tashakorri A and Creswell J W (2007) The New Era of Mixed Methods (editorial) Journal
of Mixed Methods Research 2007 1: 3 – 7

UNESCO. (2006). Education for Sustainable Development Toolkit: Education for
Sustainable Development in Action. Paris: UNESCO.

UNESCO (2011). The Four Pillars of Education . Reteieved from
http://www.unesco.org/delors/fourpil.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite