การวิเคราะห์การสลับภาษาในเฟสบุ๊ค
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาหน้าที่และรูปแบบของการสลับภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ค การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยใช้กรอบการแบ่งประเภทการสลับ
ภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ของ ป๊อบเลค (1980) และของแอบเพียวและเมยสเกิ้ล (2006) กรอบการ
แบ่งประเภทการสลับภาษาอังกฤษกับภาษาไทยของ ป๊อบเลค ประกอบด้วย การสลับแบบวลีที่ขึ้นต้น
หรือลงท้ายประโยค แบบระหว่างคำ และแบบระหว่างสารประโยค ส่วนกรอบการแบ่งหน้าที่การสลับ
ภาษาอังกฤษกับภาษาไทยของ แอบเพียวและเมยสเกิ้ล ประกอบด้วยการไม่สามารถหาคำที่เหมาะสมมาใช้
แทนได้ การสื่อสารทางตรง การบรรยายความรู้สึก การเปลี่ยนเสียงโดยการเน้นย้ำ การใช้คำพูดโดยอ้อม
และการใช้สำหรับเรื่องตลก ผลการศึกษาโดยการวิเคราะห์การสลับภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ด้วยกรอบ
การแบ่งประเภทของป๊อบเลค (1980) จากจำนวนการสลับภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ที่พบทั้งหมด
803 รายการ พบว่าการปนภาษาอังกฤษกับภาษาไทยระดับคำอยู่ในระดับสูงสุด (86.43%) รองลงมาคือ
ระดับวลี (9.83%) และระดับประโยคอยู่ในระดับต่ำที่สุด (3.74%) ตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาโดยการ
วิเคราะห์การสลับภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ด้วยกรอบการแบ่งประเภทของ แอบเพียวและเมยสเกิ้ล (2006)
จากจำนวนการสลับภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ที่พบทั้งหมด 803 รายการเช่นกัน พบว่าการปนภาษาอังกฤษ
กับภาษาไทยในระดับการไม่สามารถหาคำที่เหมาะสมมาใช้แทนได้ อยู่ในระดับสูงสุด (61.64%) รองลงมาคือ
การบรรยายความรู้สึก (19.43%) การสื่อสารทางตรง (13.20%) และการเปลี่ยนเสียงโดยการเน้นย้ำ อยู่ใน
ระดับต่ำที่สุด (5.73%) ในขณะที่การใช้คำพูดโดยอ้อม และการใช้สำหรับเรื่องตลก ไม่พบในการศึกษาในครั้งนี้
การศึกษาครั้งนี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนและนักเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ และยังช่วย
ผลักดัน และสร้างความตระหนักให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถ พัฒนาทักษะทางภาษา
เพื่อให้ประสบความสำเร็จการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
References
Press.
Chaiwichian, U. (2007). THAI-ENGLISH CODE SWITCHING OF STUDENTS IN THE
MINI ENGLISH PROGRAM (MEP). Master of Arts in English Language Studies:
Suranaree University of Technology.
Ghazali, K. (2010). National identity and minority languages. In UN Chronicle Online. Retrieved
From http://www.un.org/wcm/content/site/chronicle/home/archive/issues2010/un_
academic_impact/national_identity_and_minority_languages
Myers-Scotton, C., & Ury, W. (1977). Bilingual strategies: The social function of codeswitching.
International Journal of the Sociology of Language. 13, 5-20. doi: 10.1515/ijsl.1977.13.5,//1977
Malik, L. (1994). Socio-linguistics: A study of code-switching. New Delhi, ND: Anmol
Publications Pvt. Ltd.
Poplack, S. (1980). Sometimes I’ll start a sentence in Spanish y termino en español: Toward
a typology of code-switching. Linguistics, 18: 581-618.
Social barker. Facebook Statistics by City. Retrieved (November2012), from http://www.
socialbakers.com/facebook-statistics/cities/.