การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ในวัยรุ่นชนเผ่าอาข่า: กรณีศึกษาหมู่บ้านป่าซางนาเงิน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Weerayuth Jaisurach

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ในวัยรุ่นเผ่าอาข่าที่หมู่บ้าน
ป่าซางนาเงิน การศึกษานี้ศึกษาและวิเคราะห์ให้เห็นถึงสี่อัตลักษณ์ของกลุ่มวัยรุ่นอาข่า
การศึกษาบนพื้นฐานของชาติพันธุ์และภาษาศาสตร์ สามารถตรวจสอบถึงอิทธิพลของอัตลักษณ์
ทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ทางสังคม อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ทางภาษาศาสตร์ของวัยรุ่นชาวอาข่า
การเลือกตัวอย่างวัยรุ่นอาข่าโดยใช้การสุ่มเพื่อดำเนินการศึกษาข้อมูลและข้อมูลที่ถูกเก็บมาจากการบันทึก
และสัมภาษณ์โดยมุ่งเน้นที่ตัวตนของวัยรุ่นชาวอาข่า นักวิจัยเลือกเพียง 20 คน ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ
80 ของประชากรหนุ่มสาวจากประชากรในหมู่บ้านทั้งสิ้น 359 คน
ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความแตกต่างที่มีผลต่อปัจจัยทั้งหมดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ
มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ทางสังคม อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ทาง
ภาษาศาสตร์ การศึกษาพบว่าในด้านอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การรับรู้และตระหนักถึงความเป็นชาติพันธุ์
เป็นสิ่งที่แสดงออกทางชาติพันธุ์ตามทัศนคติที่มีต่อเชื้อชาติและพฤติกรรมทางกลุ่มชาติพันธุ์ ในด้าน
อัตลักษณ์ทางสังคม บุคลิกภาพถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงอัตมโนทัศน์และบทบาททางสังคม ในด้านอัตลักษณ์
ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์การดำรงชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรม มุมมอง และการ
รักษาทางวัฒนธรรม ในด้านอัตลักษณ์ทางภาษาศาสตร์ พลังของภาษาจะแสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่มีต่อ
ภาษา การเลือกใช้ภาษารวมถึงการรักษาภาษา ดังตัวอย่างเช่น เยาวชนอาข่าชอบที่จะปรับให้เข้ากับวิถีชีวิต
ที่จะต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ แต่พวกเขายังคงใช้ภาษาอาข่าในทุกสถานการณ์ ซึ่งมีระดับของความสับสนเกิดขึ้น
ในการใช้ภาษา โดยมีการผสมและยืมคำศัพท์เพื่อใช้ในกระบวนการสื่อสาร เพราะภาษาไทยไม่ได้เป็น
ภาษาแม่ของพวกเขา บางครั้งพวกเขาไม่สามารถที่จะสื่อความหมายในบริบทต่างๆ ได้อย่างชัดเจนคำแนะนำจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าวัยรุ่นอาข่าควรรักษา ปกป้องและสืบทอดอัตลักษณ์ของ
ชาวอาข่าในทุกๆ ด้าน พวกเขาควรรณรงค์ในแง่ของการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการเรียนรู้และส่งเสริม
ให้ชาวอาข่ามีการเรียนรู้ในเรื่องเชื้อชาติของพวกเขา

References

Alamuddin, N. S. & Starr, P. D. (1980). Crucial Bonds Marriage among the Lebanese Druze.
New York Caravan Books.

Cross, W. (1991). Shades of black: diversity in African-American identity. Philadelphia:
Temple University Press.

Crystal, D. (2000). Language death. Cambridge: Cambridge University Press.

Hall, G. S. (1904). Adolescence: Its psychology & its relations to physiology, anthropology,
sociology, sex, crime, religion, & education (Vols. I & II). New York: D.Appleton & Co.

Hoebel, E. A. (1993). Anthropology & the Human Experience. 5th (ed.). New York: McGraw
Hill, 1979.

Matisoff, J. A. (1989). Linguistic diversity & language contact: highlanders of Thailand. Kuala
Lumpur: Oxford University press.

Muhlhausler, P. (1998). Rejoinder to Siegel’s Review. Linguistic ecology: An Austratian
journal of linguistics. Vol. 18: 219-225.

Phinney, J. S. (1996). Understanding ethnic diversity: The role of ethnic identity. American
Behavioral Scientist. 40, 143-152.

Smalley, W. A. (1994). Linguistic diversity & national unity: Language ecology in Thailand.
Chicago: The University of Chicago.

Schmitt, M. T., Silvia, P. J., Branscombe, N. R. (2000). The intersection of self-evaluation
maintenance & social identity theories: intragroup judgment in interpersonal & intergroup
contexts. Pers. Soc. Psychol. Bull. Vol. 26: 1598-606.

Schopler, J. & Insko, C. A. (1992). The discontinuity effect in interpersonal & intergroup
relations: generality & mediation. Eur. Rev. Soc. Psychol. Vol. 3: 121-51.

Spears, R. (2001). The interaction between the individual & the collective self: selfcategorization in
context. In Individual Self, Relational Self, & Collective Self: Partners, Opponents or
Strangers?, ed. C Sedikides, MB Brewer. Philadelphia, PA: Psychology Press. In press.

Tajfel, H. & Turner, J. (1986). The social identity theory of intergroup behavior: Psychology of
Intergroup Relations. 7-24. Chicago: Nelson-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-05-2018

How to Cite