สิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติ ศึกษากรณีประเทศไทย และประเทศลาว
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า เด็กไร้สัญชาติที่อยู่ในประเทศไทยและประเทศลาว มีสิทธิ
ทางการศึกษาหรือไม่ และเด็กไร้สัญชาติประสบปัญหาและอุปสรรคในด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง โดยมุ่งศึกษา
สิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทยและประเทศลาวที่รัฐยอมรับให้มีภูมิลำเนา
และอยู่อาศัยแล้ว โดยใช้วิธีค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งจากแนวคิดและกฎหมาย
ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายภายในของประเทศไทยและลาวที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาสิทธิการศึกษาเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ทั้งจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และสนธิสัญญาที่ประเทศไทยและลาวลงนามเป็นภาคี ซึ่งกฎหมาย
ระหว่างประเทศที่รับรอง คุ้มครองสิทธิการศึกษานี้ต่างชี้ชัดว่าสิทธิการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชน ดังนั้น
มนุษย์ทุกคนไม่ว่าเชื้อชาติใด สัญชาติใด แม้กระทั่ง “เด็กไร้สัญชาติ” ก็ตามย่อมมีสิทธิในการศึกษา
เช่นเดียวกัน แต่ถึงกระนั้น เด็กไร้สัญชาติก็ยังคงประสบปัญหาในการเข้าถึงสิทธิด้านการศึกษา อันได้แก่
ประการแรก ปัญหาการออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมของเด็กไร้สัญชาติ ปัญหาที่เกี่ยวกับบุคคลไร้สัญชาติ
ชนกลุ่มน้อยต่างๆ มักจะมีเรื่องของความมั่นคงของรัฐของประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้บุคคลเหล่านี้
ต้องถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ด้วยอำนาจของรัฐ แม้แต่การจำกัดเขตควบคุม โดยมีข้อจำกัดในการเดินทาง
ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมไม่สามารถมีอิสระในการเดินทางไปไหนมาไหน โดยการห้ามออกนอกพื้นที่
ควบคุมสำหรับเด็กไร้สัญชาติ ถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิในการศึกษาอย่างหนึ่ง การจำกัดสิทธิเช่นนี้
ไม่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เนื่องจากหากเด็กไร้สัญชาติประสงค์ที่จะศึกษาที่ใด ก็ย่อมมีความ
จำเป็นที่ต้องออกนอกพื้นที่เพื่อไปศึกษาในสถานศึกษาตามความต้องการ การศึกษาในปัจจุบันเป็น
การศึกษาที่ไร้ขอบเขต นักเรียน นักศึกษาสามารถเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่ต้องการได้ แม้กระทั่งสถาบันการศึกษาที่อยูใ่ นตา่ งประเทศ อีกทั้งยังมีความรว่ มมือกันระหวา่ งสถาบันการศึกษาใหมี้การแลกเปลี่ยน
นักเรียน นักศึกษา และมีปฏิสัมพันธ์ไปมาหาสู่กัน แต่หากรัฐจำกัดเขตพื้นที่ของเด็กไร้สัญชาติแล้ว
เด็กไร้สัญชาติย่อมไม่ได้รับสิทธิการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับคนที่มีสัญชาติโดยตรง
ประการที่สอง ที่ผู้ศึกษาเห็นว่ามีความสำคัญคือ ปัญหาเรื่องทุนการศึกษา การได้รับทุนการศึกษา
เด็กไร้สัญชาติส่วนใหญ่แล้วเป็นเด็กยากไร้ หากบางคนพอมีทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียนบ้าง แต่ก็เป็นเพียง
การศึกษาในระดับต้น หากแต่การศึกษาในระดับที่สูงกว่า หรือการศึกษาในต่างประเทศ ย่อมเป็นไปได้
ยากลำบาก เนื่องจากค่าศึกษาเล่าเรียนในภาคการศึกษาแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย
ในเครื่องใช้ส่วนตัว อุปกรณ์การเรียน ค่าที่พัก ค่ากินอยู่ ทุนการศึกษาส่วนใหญ่ของหน่วยงานของรัฐ
ล้วนแล้วแต่กำหนดคุณสมบัติในการขอรับทุนการศึกษาว่าต้องเป็นคนที่มีสัญชาติของรัฐของตนเท่านั้น
ดังนั้นเพื่อให้เด็กไร้สัญชาติได้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิในด้านการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรร่วมกันแก้ปัญหา โดยในส่วนที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิด้านการศึกษาของ
เด็กไร้สัญชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว และในส่วนการบังคับใช้กฎหมาย
ควรชี้แจงทำความเข้าใจ และสร้างองค์ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในส่วนของเด็กไร้สัญชาติเอง ทั้งภาครัฐ
ภาคประชาชน ควรตระหนักในความสำคัญของการศึกษา รวมทั้งสร้างองค์ความรู้เรื่องสิทธิทางด้านการศึกษา
เพื่อให้เด็กไร้สัญชาติสามารถเรียกร้อง และปกป้องสิทธิของตนได้ อีกทั้งยังนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา
ไปพัฒนาตนเองและสังคมต่อไป
References
ตะวันออกเฉียงใต้. ใน รายงานการประชุมผู้เชี่ยวชาญระดับภูมิภาคเรื่องแนวปฏิบัติที่ดีในการระบุ
ขอบเขต การป้องกัน การลดภาวะไร้สัญชาติ และการคุ้มครองคนไร้สัญชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
(หน้า 1-31). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พุทธศักราช 2545. (2545, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 119,
ตอนที่ 128ก, หน้า 11-14.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116,
ตอนที่ 74ก, หน้า 1-23.
สุวรรณี เข็มเจริญ. (2547). สิทธิในการศึกษาของคนไร้สัญชาติในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการอนุญาตให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยออกนอกเขตควบคุมเป็นการ
ชั่วคราวเพื่อเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2553. (2553, 10 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 127,
ตอนพิเศษ 31ง, หน้า 1-7.
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548.
(2548, 19 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 122, ตอนพิเศษ 90ง, หน้า 9-11.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124,
ตอนที่ 47ก, หน้า 1-127.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพคนไร้สัญชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2555,
จาก http://th.wikipedia.org/wiki/อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพคนไร้สัญชาติ
สภาแห่งชาติ. (ค.ศ.2003, 28 พฤษภาคม). รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี ค.ศ.2003
(ฉบับแก้ไข), เลขที่ 32/สปป.
สภาแห่งชาติ. (ค.ศ.2006, 27 ธันวาคม). กฎหมายว่าด้วยการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของเด็ก 2006,
เลขที่ 05/สพช.
สภาแห่งชาติ. (ค.ศ.2007, 3 กรกฎาคม). กฎหมายว่าด้วยการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) ค.ศ.2007 เลขที่ 04/สพช.
สำนักทะเบียนกลาง. (2548, 31 มีนาคม). ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำรวจและจัดทำทะเบียน
สำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ.2548.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2548). มติคณะรัฐมนตรี 5 กรกฎาคม 2548. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2555,
จาก http://www.cabinet.soc.go.th