รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์
บทคัดย่อ
พระสงฆ์เป็นกลุ่มคนที่มีข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพของตนเอง จึงได้ทำการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์
เป็นการวิจัยแบบสำรวจ (survey research) จากพระสงฆ์ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และที่พักในวัด ที่พักสงฆ์
และสำนักสงฆ์ของภาคเหนือ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวมทั้งสิ้นจำนวน
501 รูป เครื่องมือที่ใช้ในประเมินครั้งนี้คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ จำนวน
41 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ความถี่ และร้อยละ และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของ
พระสงฆ์ด้วยสถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์ผู้ให้ข้อมูลมีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 35.5
และรักษาอาการเจ็บป่วยแบบแพทย์แผนปัจจุบันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.7 และซื้อยาฉันเอง ร้อยละ
27.9 ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ พบว่าพระสงฆ์มีพฤติกรรมด้านกิจกรรมกาย ด้านโภชนาการ
ด้านการจัดการความเครียด และด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพระดับปานกลาง มีเพียงด้านสุขภาพอนามัย
ที่มีพฤติกรรมระดับมาก สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ พบว่า ปัจจัย
ด้านอายุ และการศึกษาทางโลกมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ (P-value = 0.006-0.019) ปัจจัยด้านอายุ ด้านนิกาย และการศึกษาทางโลก มีความเกี่ยวข้องกับ
พฤติกรรมด้านการจัดการกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.005-0.024) และปัจจัย
ด้านประเภทวัด ดา้ นจำนวนพรรษา ดา้ นสถานะทางสงฆ ์ และการศึกษาทางโลกมีความเกี่ยวขอ้ งกับพฤติกรรม
ด้านการรับผิดชอบต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.000-0.004) ส่วนปัจจัยด้านประเภทวัด อายุ และการศึกษาทางโลกของพระสงฆ์มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัย (P-value =
0.000-0.002) สำหรับพฤติกรรมด้านโภชนาการ พบว่าปัจจัยด้านประเภทวัด ที่ตั้งของวัด อายุ จำนวน
พรรษา นิกาย สถานะทางสงฆ ์ การศึกษาทางโลก การศึกษาทางสงฆแ์ ละโรคไมมี่ความเกี่ยวขอ้ งกับพฤติกรรม
ด้านโภชนาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.089-0.843) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริม
สุขภาพพระสงฆ์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ 5 ด้าน คือ ด้านการบริโภคอาหาร ด้านออกกำลังกาย
ด้านการจัดการความเครียด ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ และด้านการดูแลสุขภาพอนามัยโดยรวม
ซึ่งแต่ละด้านประกอบด้วย กิจกรรมของพระสงฆ์ อุปกรณ์และสถานที่ และผู้ที่รับผิดชอบ
ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ และตรวจสอบด้วยจัดการประชุมอย่างเป็นทางการ (connoisseurship)
เพื่อการวิพากษ์รูปแบบที่จัดทำขึ้น พบว่ารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้
และไม่ขัดต่อจริยวัตรของพระสงฆ์
References
สามเณร ให้ยั่งยืนแบบองค์รวมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส
งานฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.
คฑาวุฒิ มีมุข, ฉันทนา เสนีย์ยุทธนา, จีรนุช ติวุตานนท์, อรุณศิริ ภู่อินทวรัญ และอนิรุธ จันทพาส. (2551).
การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพพระสงฆ์ในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.
พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทธิโธ). (2551). พฤติกรรมสุขภาพและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
ของพระสงฆท์ ี่ปรากฏในพระไตรปฎิ ก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิทยา จารุพูนผล, สุพร อภินันทเวช และศิราณี ศรีใส. (2547). สุขภาวะพระภิกษุสงฆ์แบบองค์รวม.
ภาควิชาอนามัยครอบครัว และฝ่ายวิจัยคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
มยุรี วัฒนกุล, จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ, กฤษดา พรหมวรรณ์, จามจุรีย์ ทนุรัตน์ และระบอบ เนตรทิพย์.
(2547). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในพระสงฆ์เขตเทศบาลตำบลปัวอำเภอปัว จังหวัดน่าน.
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว. จังหวัดน่าน.
มณฑิชา นงนุช, นิคม มูลเมือง และวรรณิภา อัศวชัยวิกรม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
ส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถตนเอง อิทธิพล
ระหว่างบุคคล และอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของพระสงฆ์
ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. รายงานการเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการ เพื่อ
นำเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
โรงพยาบาลสงฆ์. (2552). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อาพาธโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต, ปราณปรียา โคสะสุ และศิรดา ศรีโสภา. (2552). สุขภาวะของพระภิกษุสงฆ์
ในจังหวัดอุบลราชธานี. ศูนย์อนามัยที่ 7. จังหวัดอุบลราชธานี.
สมพล วิมาลา. (2540). ปจั จัยที่มีอิทธิพลตอ่ พฤติกรรมสง่ เสริมสุขภาพของพระสงฆใ์ นจังหวัดเชียงใหม่.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.