กลยุทธ์การพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ขององค์กรภาคประชาชนจังหวัดกำแพงเพชร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
กับการพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพ พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพขององค์กรภาคประชาชน
และเพื่อประเมินกลยุทธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การประชุม
เชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า องค์กรภาคประชาชนจังหวัด
กำแพงเพชร มีการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพได้ครบทั้ง 5 ขั้นตอน ส่วนใหญ่ดำเนินการร่วมกับ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัญหาในการพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาที่มี
ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติตามแผนสุขภาพชุมชน กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ
เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนา ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า กลยุทธ์
ส่วนใหญ่มีความสอดคล้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด
References
สุขภาพภาคประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
______. (2553). แผนยุทธศาสตร์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปี 2554-2557. กรุงเทพมหานคร:
กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์. (2550). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2554, จาก http://bps.ops.
moph.go.th/Plan10/Plan10-50.pdf
______. (2555). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
จักษวัชร ศิริวรรณ. (2554). การนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2556, จาก
http://www.gotoknow.org/posts/437655
ชรัช พรอำนวยลาภ. (2552). โปรแกรมการสร้างพลังแก่นักจัดการสุขภาพในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการ
สุขภาพ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. มหาสารคาม.
ดารุณี ทายะติ. (2543). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัย
บ้านหนองโขง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บริรักษ์ อุ่นคำมี. (2549). การจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นหมู่บ้านจัดการสุขภาพของบ้านป่าไม้แดง ตำบลแม่โป่ง
อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชียงใหม่.
ประเวศ วะสี. (2550). สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูปสุขภาพ สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข.
พิมลภรณ์ รอดแก้ว. (2554). ความต้องการการจัดการนันทนาการของบุคลากรส่วนกลางในสถาบันบัณฑิต
พัฒนศิลป์. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร
ภทรพร ยุทธาภรณ์พินิจ. (2551). การพัฒนากระบวนการทำงานของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรสมาชิกด้วยระบบมาตรฐานงานชุมชน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช,
21(1), 21-37.
ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์. (2551). การดำเนินงาน
หมู่บ้านจัดการสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เศรษฐพงศ์ อาลีมินทร์. (2552). การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการ
สุขภาพ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. มหาสารคาม.
สมศักดิ์ น้อยนคร. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในจังหวัด
อุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์.
สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน. (2543). สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มของงานสาธารณสุข
มูลฐานในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. (2554). สรุปรายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สำนักงาน. (อัดสำเนา).
สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่ม
ภาคเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร.
อุทิศ ขาวเธียร. (2549). การวางแผนกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.