การวิเคราะห์วรรณกรรมพื้นบ้านไตยอง ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Sawittree Nukas

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของการใช้ภาษาในวรรณกรรมพื้นบ้านของชาวไตยอง
และวิเคราะห์ลักษณะภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมของชาวไตยองที่สะท้อนด้านวัฒนธรรม แนวความคิด
วิถีชีวิตของชาวไตยอง และมุมมองของชาวไตยองที่มีต่อวรรณกรรมพื้นบ้าน การศึกษาวิจัยใช้กรอบแนวคิด
ดา้ นชาติพันธุว์ รรณาสำหรับการสื่อสารเพื่อเก็บขอ้ มูลในการศึกษา เพื่อใหส้ ามารถเก็บขอ้ มูลไดอ้ ยา่ งครอบคลุม
จำแนกเป็นการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์ การเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์มาจากชาวไตยองที่อาศัยอยู่
ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling)
เพื่อเป็นตัวแทนของประชากรในการให้ข้อมูล
จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมไตยองที่ปรากฏมี 3 ประเภท ได้แก่ สุภาษิต ค่าว ประเพณีความเชื่อ
วรรณกรรมประเภทแรก คือ สุภาษิตแบ่งเป็นหัวข้อ ได้แก่ แนวทางชีวิต ความพอเพียง ความขยัน และ
ความสามัคคี ลักษณะทางภาษาที่พบมากที่สุดไปหาน้อยสุด คือ การสัมผัสสระ 63.15% การสัมผัสอักษร
30.11% การเปรียบเทียบความเหมือน 3.37% และการใช้คำซ้ำ 3.37% วรรณกรรมประเภทที่สอง ค่าวหรือ
เพลงพื้นบ้านไตยอง วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และกลุ่มคนที่ปรากฏจากค่าว ได้แก่ 1) ค่าวเกาะ-ลา
2) ค่าวอี่น้อง-อี่นาย 3) ค่าวจีบบ่าว-จีบสาว 4) ค่าวแซวบ่าว-แซวสาว ลักษณะภาษาที่พบมากที่สุดไปหา
น้อยสุด คือ การสัมผัสอักษร 57.43% การสัมผัสสระ 41.51% และการผวนคำ 1.06% วรรณกรรมประเภท
สุดทา้ ย คือ วรรณกรรมดา้ นความเชื่อประเพณี ซึ่งพบวา่ มี 3 ประเภท และแยกหัวขอ้ ตามบริบททางวัฒนธรรม
ประเภทแรกคือ ประเพณี (4 เรื่อง) ประเภทที่สองคือ พิธีกรรม (3 เรื่อง) ประเภทที่สามคือ ด้านความเชื่อ
(1 เรื่อง)ฉะนั้นสุภาษิตไตยองมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำและสั่งสอนคนรุ่นใหม่ในการดำเนินชีวิต ค่าวหรือ
เพลงพื้นบ้านจะให้ความบันเทิงและสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างหญิงชายในอดีต และวรรณกรรมด้าน
ความเชื่อเพื่อแสดงถึงความเชื่อด้านวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วรรณกรรมไตยองจะเกี่ยวข้อง
กับวัฒนธรรม การดำเนินชีวิต วรรณกรรมที่ปรากฏจึงเกิดจากภาษา แนวคิด และวิถีชีวิตของคนไตยอง

References

Scott, J. (1990). A Matter of Record, Documentary Sources in Social Research. Cambridge:
Polity Press.

Goodman, L. A. (1961). Snowball sampling. The Annals of Mathematical Statistics. Vol.
32(1): 148-170.

Obeng, S. G. (1996). The proverb as a mitigating and politeness strategy in Akan discourse.
Anthropological Linguistics. 38(3): 521-549.

Sangpanya Isariyaporn. (2006). An Analysis of Thai Lue Proverbs. (M. Ed. Thesis), (Thai).
Bangkok: Graduate School Srinakharinwirot University.

Damrongsakul Somjai. (2008). “The Role of Traditional Houses and Rituals in Cultural
Maintenance and Tourism in Two Tai Lue Village”. Doctor of Philisophy, Program
of Architectural Heritage Management and Tourism (International Program), Silpakorn
University.

Worahan Sunthorn. (2012). Folksong of Tai Dam Ethnic Group in LAO P.D.R. “Stylistics
Creating of Cultural Communication”. M.A., Faculty of the Language, Mahasarakham
University.

เผยแพร่แล้ว

31-05-2018

How to Cite