การพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์การยางพารา สู่การเป็นผู้นำโลกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Pichet Chuamuangphan

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นผู้นำด้านยางพาราของประเทศไทย
และข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการไปสู่ความเป็นผู้นำยางพาราของโลก (15 ปี) ใช้วิธีการวิจัย
เชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กัน โดยเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก เพื่อนำข้อค้นพบ
มาสนับสนุนซึ่งกันและกัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การจัดสนทนากลุ่ม
ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และเปอร์เซ็นต์ไทล์
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นผู้นำด้านยางพาราของประเทศไทยมี 5 ด้าน ได้แก่ ปัจจัย
ด้านการปลูกและพัฒนาพันธุ์ยางพารา ควรมุ่งเน้นการปลูกยางพารา โดยเน้นสภาพดินและระยะเวลา
เป็นหลัก ซึ่งยางพาราจะมีคุณภาพดีนั้นต้องมีภูมิศาสตร์และพื้นที่ที่เหมาะสม ปัจจัยด้านการผลิตและการ
แปรรูปยางพารา ควรมุ่งเน้นผลผลิตออกสู่ตลาดโลกมาก สร้างเครือข่ายอย่างเป็นระบบเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง
สร้างองค์ความรู้ให้แก่ชาวสมาชิก ก้าวทันเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด
และการจำหน่ายยางพารา ควรมุ่งเน้นการหาตลาดรองรับที่มีความสัมพันธ์และความสามารถในการรองรับ
ปริมาณน้ำยางและยางสำเร็จ การจะส่งออกจะต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง ปัจจัยด้านการส่งเสริม
การตลาด มีผลในการพัฒนาการผลิต คุณภาพ การแปรรูป และการทำรายได้เข้าสู่ประเทศ และเปิดโอกาส
ให้นักลงทุน เข้ามาร่วมลงทุนในการแปรรูป เป็นอุปกรณ์ ตั้งแต่กลุ่มสถาบันที่มีศักยภาพ มีทุนในการแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับของภาครัฐด้านยางพารา มีควรมุ่งเน้นว่า
กฎระเบียบไม่สะดวกในการบริหารไปสู่การบูรณาการให้เป็นเอกภาพเพื่อความยั่งยืน กฎระเบียบต่างๆ
ไม่เอื้ออำนวยต่อเกษตรกร และปัจจัยด้านกลไกด้านการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยางพารา ควรมุ่งเน้น
การประสานงานกับนักลงทุนขนาดใหญ่จากต่างประเทศ สาเหตุจากผู้นำระดับประเทศของเราคิดจะต่อยอด

จากยางพาราระดับท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นอุตสาหกรรม และกลไกในการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรม
ยางพารา ได้แก่ เงินลงทุน โรงงาน การจัดการการกระจายการลงทุนสู่ภูมิภาค และคนที่มีคุณภาพ
ข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการไปสู่ความเป็นผู้นำยางพาราของโลก (15 ปี) พบว่า
วิสัยทัศน์ พัฒนายางพาราไทยทุกระบบสู่มาตรฐานการเป็นผู้นำโลก เป้าหมาย/เป้าประสงค์ ยกระดับ
ความสามารถของอุตสาหกรรมยางพาราในระดับต้นน้ำจนถึงปลายน้ำให้ สามารถก้าวเป็นผู้นำโลก
ใน 15 ปีข้างหน้า ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การส่งเสริม
การผลิตที่มีศักยภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่การผลิตทันสมัย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การสนับสนุนการส่งออกแบบบูรณาการ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์
การผลักดันเชิงนโยบายสู่การเพิ่มมูลค่า

References

กรมวิชาการเกษตร (2544). แผนพัฒนายางพาราแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์.

คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนายางพารา พ.ศ.2552-2556.
สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.rubberthai.com/about/pdf/strategy.pdf

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย. (2549). รายงานประจำเดือนมิถุนายน 2549. กรุงเทพฯ:
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย.

นุชนารถ กังพิสดาร. (2547). ประวัติและความสำคัญของยาง. เอกสารวิชาการยางพารา เอกสารวิชาการ

ลำดับที่ 20/2547 กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สถาบันวิจัยยาง. (2555). สถิติยางประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2018

How to Cite