การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1: นโยบายสู่แนวทางปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • Yowwapa Wongsawash

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรคของการบริหาร
จัดการการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนกลุ่ม 1 (2) เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ที่เหมาะสมในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการ
พัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ผู้วิจัยใช้แนวทาง
การวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method design) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)
กับการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ควบคู่กันไปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เครื่องมือ
ที่ใช้ ได้แก่ การทบทวนเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การประชุมระดมสมอง เทคนิคเดลฟาย โดยใช้
การวิเคราะห์เนื้อหา และแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
สถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรคของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ
ตอนบนกลุ่ม 1
ด้านการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ความขัดแย้งเรื่องไร่หมุนเวียน การจัดการท่องเที่ยว
โดยชุมชนถูกมองว่าเป็นทัวร์เถื่อน
ด้านการจัดการทรัพยากร คือ กฎหมายบางอย่างไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชนเผ่า
ด้านเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยว คือ หน่วยงานและบุคคลภายนอกไม่เข้าใจวิถีชีวิต
ด้านกระบวนการทำงานของโครงการ คือ การเตรียมความพร้อมชุมชน งานสร้างเครือข่าย
งานพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน/ของที่ระลึก
รูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ
ตอนบน 1 คือ รูปแบบกิจกรรม ควรเกี่ยวเนื่องประเพณีท้องถิ่นหรือการประกอบอาชีพของชุมชน การพัฒนา
ควรเน้นในด้านการจัดการการท่องเที่ยว ด้านความรู้ในท้องถิ่น ด้านเครือข่ายการท่องเที่ยว ด้านการ
ประชาสัมพันธ์ และด้านความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวกนบน 1
1. ด้านแนวคิด การบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน มีปัจจัยเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงหลายด้าน
ดังนั้นแนวคิดในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชน ควรสร้างความเข้าใจแก่ชุมชนเพื่อให้เกิดความสมดุล
ระหว่างการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนที่มีอยู่เดิม และด้านอื่นๆ
เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมการท่องเที่ยว
2. ด้านสังคม และวัฒนธรรม ชุมชนในเขตพื้นที่มีการรวมกลุ่มทางสังคมของชุมชนในพื้นที่มี
ความผูกพันเอื้ออาทรต่อกันอย่างกลมกลืน ดังนั้นหน่วยงานของรัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญ
และสนับสนุน เพื่อให้ชุมชนเข้าใจจุดเด่น รู้จักคุณค่าในสิ่งที่ตนมีอยู่ และมีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์
และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เพื่อเป็นการปลูกฝังสร้างค่านิยม ความรักสามัคคี ทำให้ชุมชนมี
ความเข้มแข็ง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ให้สอดคล้องกับ
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณี

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2546). รายงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ.
กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

______. (2552). โครงการสำรวจสถิติการท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2552. กรุงเทพฯ: ฝ่ายสถิติ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ดุสิต เวชกิจ. (2535). การมีส่วนร่วมของประชาชนและการระดมทรัพยากรเพื่อการป่าไม้ชุมชน
ในการป่าไม้ชุมชน. เอกสารการสอนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 5. นนทบุรี:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นพดล ภาคพรต. (2549). การศึกษาเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินเทศบาลตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง
จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และอัครพงศ์ อั้นทอง. (2549). ความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว
ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง e–TAT Tourism Journal. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2550,
จาก http://www2.tat.or.th/tat/e-journal/upload/118/25491f
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2540). โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บท
เพื่อพัฒนาการทอ่ งเที่ยวเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

สำนักงานจังหวัดพะเยา. (2548). เอกสารประกอบมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดพะเยา
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่. พะเยา: สำนักงานจังหวัดพะเยา.

สุมิตร สุวรรณ. (2555). การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2555, จาก
http://onzonde.mutiply.com.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อุดม เชยกีวงศ์ วิมล จิโรจพันธุ์ และประชิด สกุณะพัฒน์. (2548). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ:
แสงดาว.

Chinen, K. (2002). The Relationship between TQM factor and performance in amaquiladora
multisnational. Business Review, 31, 96-97.

Curry, A. & Kadasah, N. (2002). Focusing on key element of TQM-evaluation for sustainability.
The TQM Magazine. (4), 207-216.

Glaser, B. G. (1978). Theoretical sensitivity. Mill Valley, CA: Sociology Press.

Glaser, B. G. & Strauss A. (1967). The discovery of grounded theory. Chicago: Aldine
Publishing.

Rahman, S. (2002). Leadership and HR focus in TQM research in autraita: An assessment
and agenda. Retrieved February 5, 2002, From http://www.Itls.Usyd.Inc.

Strauss, A. (1967). The discovery of grounded theory: Strategies for qualitative research.
New York: Aldine Publishing.

Weiler, B. & Davis, D. (1993, April). An exploratory investigation into the roles of the

nature-based tour leader. Tourism management, 13, 91-98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2018

How to Cite