คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • Chonticha Tongun

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพรครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายถึงปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องมีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และปัจจัยแห่งความผาสุกในด้านร่างกาย จิตใจ สังคมสิ่งแวดล้อม
และจิตวิญญาณ ตามแนวคิดมุมมองของตัวผู้สูงอายุเอง ตลอดจนค้นหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากผู้สูงอายุ 30 ราย ให้ได้ข้อสรุปที่เป็นมาตรฐานในการจัด
รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา ผลวิจัยสะท้อน
ให้เห็นถึงวิธีการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนความลุ่มลึกในทุกๆ ด้าน ในการสร้างต้นทุน
ชีวิตให้งอกงามเกิดความผาสุก โดยคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดเติมเต็มทักษะชีวิตที่จำเป็น ก่อให้เกิดความพึงพอใจ
นำไปสู่ความมั่นคงและความสำเร็จชีวิต ชีวิตที่ได้ผ่านประสบการณ์อันยาวนาน ด้วยเหตุแห่งความตระหนัก
ในเรื่องการดูแลตนเองให้ถึงพร้อมในทุกๆ ด้าน รักษาสภาพจิตให้เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณงามความดี รวมทั้ง
การสร้างบุญกุศลไว้เป็นต้นทุนแห่งจิตวิญญาณของตนเพื่อนำไปใช้ในชีวิตหลังความตาย ตามความเชื่อ
และการเตรียมจิตใจไปกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามภาวะกาลเวลา ใช้ชีวิตร่วมกับบุตรหลานร่วม
สายโลหิต ดั่งที่คาดหวังไว้ให้มีสุขในห้วงท้ายของชีวิต ผนวกกับการได้รับความห่วงใยจากภาครัฐ ถึงแม้ว่า
อาจไม่ตรงกับสิ่งที่ตนเองปรารถนามากนัก อาทิ เช่นการได้รับการบริการที่ยุ่งยากซับซ้อนขาดความยุติธรรม
อยู่บ้าง แต่ในด้านดีสะท้อนให้เห็นถึงกัลยาณมิตรที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความห่วงหาอาทรฉันสังคมไทย สายใย
ไออุ่นจากวัฒนธรรมประเพณีและชุมชนเพื่อนบ้านดั้งเดิม ที่แวดล้อมผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “บุคคลควรแก่
การกตัญญู” ล้วนเติมเต็มชีวิตผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตดี มีความผาสุก ซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
ในผู้สูงอายุ
ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องมีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านความผาสุกที่แท้จริงของผู้สูงอายุ
ในจังหวัดชุมพรนั้น บรรยายได้ด้วยปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยจิตลักษณะ ปัจจัยความต้องการ ปัจจัยรูปแบบ
การดูแลและวิธีการดูแลผู้สูงอายุ และผลการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงลึก ด้านแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
จากการคาดหวังของผู้ให้ข้อมูล พบว่าการเอาใจใส่จากครอบครัวถือเป็นประเด็นสำคัญที่สุด เน้นการดูแลเรื่องจิตใจ ด้านฐานะการเงินมีความสำคัญมาก ในเรื่องที่ต้องมีเงินเก็บไว้เพื่อทำบุญ เพื่อแจกจ่ายลูกหลาน
เสมือนสุขใจผู้ให้ซึ้งใจผู้รับ และเพื่อเก็บไว้ทำศพตนเอง เป็นการลดภาระลูกหลาน แม้ว่าผู้สูงอายุไทยไม่ได้
มีการเตรียมตัวที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่ต้องดูแล แต่อย่างไรก็ตามพบว่า
ผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพรมีการออมเงินไว้ทำศพตนเอง แสดงถึงการเตรียมตัวอีกด้านหนึ่ง ส่วนด้าน
เบี้ยยังชีพ เบี้ยคนชรา และผู้พิการมีความพึงพอใจคิดว่าเป็นเรื่องดี อีกทั้งต้องการให้ลูกหลานพาไปวัด
ทำบุญ เพื่อสร้างสมบุญและต้องการเห็นลูกหลานตนมีความรักความปรองดอง เส้นทางผ่านประสบการณ์
ชีวิตของกลุ่มบุคคลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพร มีองค์ประกอบของคุณภาพชีวิต
ที่สมบูรณ์ก่อให้เกิดความผาสุก เอื้อต่อการมีอายุยืนยาวอยู่ต่อไป

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2535). คืนสุขภาพแก่ประชาชน. กรุงเทพฯ: ดีไซน์
กระทรวงสาธารณสุข. (2545). พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ: ธรรมนูญสุขภาพคนไทยให้อะไรกับประชาชน.
นนทบุรี. สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2540). ความเข้าใจเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารส่งเสริม
สุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2540.

จรูณ คุณมี. (2529). ประชากรศึกษากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง
ประชากรศึกษากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (หน้า 25-30). กรุงเทพฯ: สถาบันประชากรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพาภรณ์ โพธิถวิล และนุชนาฎ ยูฮันเงาะ. (2544). กลไกระบบบริหารสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย.
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนานโยบายระบบสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในไทย
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข.

นภาพร ชโยวรรณ และจอหน์ โนเดล. (2542). การอยูอ่ าศัยและการเกื้อหนุนของผูสู้งอายุไทย. วิทยาลัย
ประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราธิป กมลลิ้มสกุล. (2552). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาบ้านปางลาง
ตำบลตาพะยา อำเภอตาพะยา จังหวัดสระแก้ว ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทย
บริเวณชายแดนสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิรมล พึ่งธรรมเดช. (2551). ความสุขในชีวิตในทัศนะของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ.

นันทิญา อังกินันท์. (2546). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร.
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา สถาบันราชภัฏธนบุรี.

นุโรม เงางาม. (2540). คุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดประจำเดือนในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพยาบาลแม่และเด็ก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

นงเยาว์ ชัยทอง. (2542). การได้รับการดูแลและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอเคียนซา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บรรลุ ศิริพานิช. (2542). ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ประภาพร จินันทุยา. (2536). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมทางสังคมผู้สูงอายุดินแดง. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และ
ความสุข. กรุงเทพฯ: กรีนปัญญาญาณ.

เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2545). สูงอายุวิทยาศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนสิชา ชุมแก้ว และคณะ. (2552). สุขภาพจิตและการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของ
ผู้สูงอายุในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร. วารสารพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รตนพรรษ โชติวนิช. (2551). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยที่มีต่อการดูแลตนเองของ
อาสาสมัครสาธารณสุขศาสตร์ ในเขตจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย สาขาบริหารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

รุจา ภู่ไพบูลย์. (2541). การพยาบาลครอบครัว: แนวคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ:
วีเจ พริ้นติ้ง.

เล็ก สมบัติ. (2549). รายงานวิจัยสมบูรณ์โครงการดูแลภาวะผู้สูงอายุของครอบครัวในปัจจุบัน.

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย.

วารี กังใจ. (2541). ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของ
ผู้สูงอายุ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2541; 6: 13-20.

วิภาวี คงอินทร์ และคณะ. (2548). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในชุมชน.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรรณา กุมารจันทร์. (2543). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
สาขาพยาบาลผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรรณา ศรีธัญรัตน์ และคณะ. (2545). ระบบบริการสุขภาพและหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
ประเทศไทย. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ศิริวรรณ ศิริบุญ และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. (2544). ผู้สูงอายุไทย “อยู่ทนหรือทนอยู่”. วารสาร
พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2(4): 22-33.

ศิริวรรณ ศิริบุญ และมาลินี วงษ์สิทธิ์. (2541). การประเมินโครงการนำร่องการจัดตั้งศูนย์บริการ
ทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุ: ผลการศึกษาจากข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ:
สถาบันประชากรศาสตร์.

ศิริวรรณ ศิริบุญ. (2543). การตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ: กรณีการตั้ง
ศูนย์บริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีเมือง พลังฤทธิ์ ฟริทแวน เกรียนเวร และเกื้อ วงษ์บุญสิน. (2549). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
โดยตนเองครอบครัวชุมชน กรณีศึกษา: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย. วารสารประชากร
และสังคม. 2549; 14(2) มกราคม.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). โครงการระบบดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. รายงาน
การวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถิติจังหวัดชุมพร. (2553). สมุดรายงานสถิติจังหวัดชุมพร. สำนักงานสถิติชุมพร.

สำนักงานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพร. (2554). โครงการส่งเสริมการมี
ส่วนร่วมเครือข่ายสตรีและครอบครัว. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). ผู้สูงอายุไทย 2550 มุมมอง/เสียงสะท้อนจากข้อมูลสถิติ. กระทรวง
เทคโนโลยีและการสื่อสาร. สำนักงานสถิติ.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สวัสดิการ
สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี.

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2546). การพัฒนาดัชนีความอยู่ดีมีสุข ด้านชีวิต
ครอบครัวสำหรับประเทศไทย: รายงานการศึกษาขั้นสุดท้ายโครงการระบบพัฒนาจัดเก็บ
กลุ่มดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุขสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุใน
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สำนักงานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยและ
ประเมินโครงการคุณธรรม. ชุมพร.

สุดารัตน์ พุฒิพิมพ์. (2545). อัตมโนทัศน์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวัดป่าแสนอุดม จังหวัด
อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2541). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ:
ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุตา ถือมั่น. (2547). ปัจจัยคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลย่านยาว จังหวัดสุโขทัย. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยมหิดล.

อเนก สุภีรนันท์ และสุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2548). คุณภาพชีวิตของคนไทย: เมื่อฟื้นฟูวิกฤตเศรษฐกิจ.
วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 13(2) พฤษภาคม: 93.

อมริสา ตัณสถิต. (2545). การศึกษาปัญหาและความต้องการบริการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ
ชุมชนหมู่ 16 เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสังเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่. หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2552). การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และรูปแบบการจัด
กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเตรียม
ความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้ใหญ่วัยแรงงาน. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ (สสส.)

Campbell, A. (1976). Subjective measures of Well-being. American Psychogist. 31, 117-124.

Cockerham, W. C. (1997). This aging society. (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Dalkey, N. & Rourke, D. (1973). The Delphi Procedure and Rating Quality of life Factor,

In the Quality of life Concept. Washington, D.C.: Environmental Protection Agency.

Eliopoulos, C. (2005). Gerontological Nursing. (6th ed.). Philadelphia: Lippincott. Cormack,
D.F.S. Anxitey. In D.F.S.

Ebersole, P. & Hess, p. (1998). Toward healthy Aging: Human needs and nursing Response.
(5th ed.). St. Louis. Mosby

Ferrel, B. R. (1995). The quality of lives: 1,525 voices of cancer. Oncology nursing Forum.
23(6), 906-916.

Ferrans CE. & Power MJ. (1992). Psychometric Assessment of The Quality of life Index.
Research in Nursing & Health. 15: 29-38.

Friedman, M. M. (1986). Family nursing: Theory and assessment (2nd ed.). New York:
Appleton Century Crofts.

Han Kwee Ho et al. (2003, June). Abstract. What determines the life satisfaction of the
elderly?. Comparative study of residential care home and community in japan. Retrieved
June 22, from http://www.blackwell-synergy.com/action/dosearch.

Hanlon, J. J. and Pickett G. E. (1984). Public Health: Administration and Practice. (8th ed.)
St.louise: Times Mirror/Mosby College Publishing.

Hubbard, P. Muhlenkamp, A. F. and Brown N. (1984). The Relationship between
Social Support and Self-Care Practice. Nursing Research. 33 (September-October):
266-269.

Liu, B.C. (1975, January). Quality-of-life: Concept, measure and result. The American
Journal of Economic and Socilogy. 34: 12.

Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personnality. New York: Harper and Row
Publishers.

Merriam and Sharan B. (1988). Qualitative research and case study application in
education. California: Jossey-Bass Inc.

Miller, A. C. (2004). Nursing for Wellness in Older Adults: Theory and Practice. (4th ed.).
Philadelphia: Lippincott.

Neugarten, B., havighurts, R. S. & Tobin, S. (1961). The measurement of life satisfaction.
Journal of Gerontological Nursing. 6: 121-129.

Orem, D. E. (1985). Nursing: Concepts of practice. (4th ed.) St. Louis C.V. Mosby.

Orem, D. E. (1995). Nuresing: Concepts of practice. (5th ed.) Philadelpia: Mosby-Year Book.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L. and Parsons, M. A. (2002). Health promotion in nursing
practice. (4th ed.) Harrisonburg, VA: RR Donnelley.

Sahyoun, N. R. (1992). Clsssic component of nutrition assessment of the elderly. In Hartz,
S. C. et al. (Eds.), Nutrition in elderly. The USDA Human Nutrition Research Center
On Aging, Tufts University.

Shanas. E. (1962). The Health older people. Cambrige: Harvard University.

Speake, D., Cowart, M. E., & Pellet, K. (1989). Health perceptions and lifestyle of the elderly.

Research in Nursing & Health, 12, 1989.

UNESCO. (1978). Indicator of Environment Quality and Quality of life Research and
Socail Science. No.38 Paris: Unesco.

United Nation. (2002). Population Ageing 2002. Retrieved August 24, 2002, from: http:www.
un.org/esr/population/worldageing.

Victor, C. R. (1994). Old age in modern society: A textbook of social gerontology. (2nd ed.).
San Diego, CA: Chapman & Hall.

Watana Paranee. (1995). Ageing Continuing education and skill devenlopment Population
Ageing and devenlopment. Asain Population Studies Series No. 140. United Nation,
ESCAP. P.47-53.

Ward, R. A. (1984). The aging experience: An introduction to social gerontology. (2nd ed.).
New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2018

How to Cite