การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีการดำเนินการที่เป็นเลิศในการป้องกัน และการสืบสวนเพื่อปราบปราม

ผู้แต่ง

  • Somsuk Nongpong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียน การป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดจากชุมชน
ที่มีความเป็นเลิศด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด เพื่อถอดบทเรียน การปราบปรามการค้า
ยาเสพติดในชุมชนจากชุมชนที่มีความเป็นเลิศด้านการปราบปรามการค้ายาเสพติด เพื่อถอดบทเรียน
การฟื้นฟูผู้ได้รับการบำบัดฯ เพื่อคืนกลับสู่ชุมชน จากชุมชนที่มีความเป็นเลิศด้านการฟื้นฟูผู้ได้รับ
การบำบัดฯ เพื่อพัฒนา “บทเรียนการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน” จากองค์ความรู้ที่ได้จากการ
ถอดบทเรียนจากชุมชนที่มีความเป็นเลิศในการดำเนินการด้านต่างๆ ข้างต้น เครื่องมือที่ใช้คือการ
ถอดบทเรียนและสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า การป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนที่มีความเป็นเลิศด้านการป้องกัน
การแพร่ระบาดของยาเสพติด ความสำเร็จเริ่มจากแกนนำ สมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมชน การสร้างแรงจูงใจให้กับ
หมู่บ้าน/ชุมชน การตอ่ ยอดชุมชน กิจกรรมตอ่ เนื่อง การบูรณาการงบประมาณ สร้างเครือข่าย เช่น เครือข่ายผู้นำ
เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน
การปราบปรามการค้ายาเสพติดในชุมชน ในชุมชนที่มีความเป็นเลิศด้านการปราบปรามการค้า
ยาเสพติด พบว่า มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมชุมชน ขั้นที่ 2
การแก้ไขปัญหาชุมชนโดยสันติวิธี ขั้นที่ 3 การพัฒนาเสริมความมั่นคง และขั้นที่ 4 การติดตามประเมินผล
การฟื้นฟูผู้ได้รับการบำบัดฯ เพื่อคืนกลับสู่ชุมชน จากชุมชนที่มีความเป็นเลิศด้านการฟื้นฟูผู้ได้รับ
การบำบัดฯ พบว่า

1. พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่เข้ากระบวนการมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
2. ครอบครัวมีทางออกในการจัดการกับปัญหายาเสพติดที่เกิดกับลูกหลานได้มากขึ้น
3. ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดหลังการบำบัดรักษาได้รับการเฝ้าระวังและติดตามสามารถคืนกลับสู่
ครอบครัว ชุมชน สังคม รวมถึงดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
4. ผู้ผ่านการบำบัดรู้สึกผ่อนคลายที่ครอบครัวเข้าใจตนเองมากขึ้น
5. ผู้ประสานพลังแผ่นดิน และอาจารย์ที่ปรึกษา ทราบบทบาทหน้าที่และมีส่วนร่วมในการติดตาม
ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่
“บทเรียนการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน” ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาองค์ความรู้ขึ้นในการแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดในชุมชน ประกอบด้วย
1. การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในการต้านภัยยาเสพติด
2. การเรียนรู้เรื่องยาเสพติด
3. การสร้างอุดมการณ์ต้านภัยยาเสพติด
4. ทักษะชีวิตการป้องกันยาเสพติด
5. การป้องกันภัยยาเสพติด (กิจกรรมฐานต้านภัยยาเสพติด)
6. การดูแลเยียวยาช่วยเหลือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
7. การจัดทำโครงการ/โครงงาน ต่อต้านยาเสพติด
8. ภารกิจต้านภัยยาเสพติด (กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน) และประชาสัมพันธ์

References

กนกภรณ์ ชูเชิด และ สกรรจ์ พรหมศิริ. (2551). การถอดบทเรียน: วิธีวิทยาเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
สำหรับนักปฏิบัติภาคประชาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ
(สสส.).

กระทรวงมหาดไทย. (2552). นโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. อัดสำเนา.

กองบัญชาการศึกษา. (2540). งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ.

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2533). หลักการประชาสัมพันธ์ในการประชาสัมพันธ์เพื่อการบริหาร.
กรุงเทพฯ: สมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณพักตร์ ศิรพันธุ์. (2550). ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายด้านการปราบปรามยาเสพติด
ไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานครของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติด. (ภาคนิพนธ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2553). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและการสังเคราะห์ความรู้. กรุงเทพฯ:
สาขาวิชาประชากรศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหิดล.

สำนักงานกองทุนเพื่อการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). 5 รั้ว ล้อมไทย พ้นภัยยาเสพติด.
สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2553, จาก https://www.thaihealth.or.th/node/9831
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2550). รายงานผลการปฏิบัติงานของ
เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจำปี 2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

______. (2551). ข่าวสำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

Madaus, G.F., Scriven, M.S. & Stufflebeam, D.L. (1983). Evaluation models viewpoints
on educational and human services evaluation. (8th ed.). Boston: Khuwer-Nijhoff
Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite