การศึกษาประสิทธิภาพของโครงการปรับพื้นฐานความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ ก่อนที่จะเข้ามาเรียนของนักศึกษา เตรียมวิศวกรรมศาสตร์ (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น) ชั้นปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • Sombun Tunsakul
  • Sriamporn Rebankoh

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์ พื่อศึกษาประสิทธิภาพของโครงการปรับพื้นฐานความรูใ้ นวิชาคณิตศาสตร์
และวิชาวิทยาศาสตรท์ ี่จะสง่ ผลใหนั้กศึกษามีคะแนนผลสัมฤทธ์ิในการเรียนวิชาคณิตศาสตรแ์ ละวิชาวิทยาศาสตร ์
ดีขึ้น ศึกษาถึงระดับความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการปรับพื้นฐาน ในด้านเนื้อหา ผู้สอน สื่อและอุปกรณ์
การสอน สภาพแวดล้อม และความสนใจในการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาเตรียม
วิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 505 คน ที่สอบเข้าเรียนได้ โดยก่อนที่จะมีการเรียนปรับพื้นฐาน นักศึกษา
จะต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วนักศึกษาจะต้องเรียนปรับพื้นวิชาคณิตศาสตร์ 30 ชั่วโมง วิชาเคมี
20 ชั่วโมง และวิชาฟิสิกส์ 20 ชั่วโมง ซึ่งจำนวนชั่วโมงที่เรียนจะแบ่งตามหน่วยกิตที่เข้ามาเรียนและ
ในการจัดห้องเรียนจะจัดให้นักศึกษาหลายสาขาเรียนด้วยกัน เมื่อนักศึกษาเรียนจบก็จะทำแบบทดสอบ
หลังเรียนและแบบวัดความพึงพอใจของโครงการปรับพื้นฐานความรู้ สถิติที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้คือ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบวา่ คา่ เฉลี่ยของระดับความพึงพอใจของโครงการปรับพื้นฐานความรูใ้ นวิชาคณิตศาสตร ์
และวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะเข้ามาเรียนของนักศึกษาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ในด้านเนื้อหา ผู้สอน
และอุปกรณ์การสอน และสภาพแวดล้อมในการเรียน โดยเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) เท่ากับ 4.12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) เท่ากับ 0.83 คะแนนที่นักศึกษาสอบได้หลังจากมีการเรียนปรับพื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้นจากคะแนนก่อนเรียนโดยเฉลี่ย (X) เท่ากับ 9.1 คะแนน และ 9.7 คะแนน ตามลำดับ
คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนกลางภาคเรียนที่ 1 ของจำนวนนักศึกษาที่ได้คะแนนเกินครึ่งจากคะแนนเต็ม
ในวิชาคณิตศาสตร์เป็นร้อยละ 53 และในวิชาวิทยาศาสตร์เป็นร้อยละ 75 จากจำนวนนักศึกษาทั้งหมดและ
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่เข้าเรียนปรับพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ของกลางภาคเรียนที่ 1 มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.853 และ 0.865 ตามลำดับ

References

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรุงเทพฯ.

ศิรินันท์ เพชรทองคำ. (2521). ทฤษฎีการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ
ชำนาญ ม่วงศรี. (2525). ปัญหาการสอบไม่ผ่านของนักเรียนชั้นมัธยม. สารพัฒนาหลักสูตร.

ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ

น้ำทิพย์ มากชู. (2526). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจากวิธีสอนโดยการเสริมสร้างความรู้พื้นฐานก่อนเรียนกับ
วิธีเสริมสร้างความรู้พื้นฐานระหว่างเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพฯ

สุวัฒนา อุทัยรัตน์. (2525). “ทฤษฎีจิตวิทยาที่ครูควรรู้” ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาคณิตศาสตร์.

สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ ยรรยงเมธ. (2526). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ที่เรียนโดยมีการทบทวนความรู้พื้นฐานเดิม จากบทเรียนทบทวน.

Anderson et al. (1994). “The Determinants of Success in University Introductory Economics
Courses.” The Journal of Economic Education. V. 25, 1994: p. 99-199.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill
Book Co.

Fiel, L. R. and R. J. Okey. (1975). The Effects of Formative Evaluation and Remediation on
Mastery of Intellectual Skills. The Journal of Educational Research. 68 (March 1975):
253-255.

Lerma, A. (1990). “The Effectts of a cumulative Review Homework Assignment Schedule
Upon Achievment in Intermediate Algebra Attitude Toward Mathematics.” Dissertation
Abstracts International. 51, December 1990: p.1944-A.

Tewari, M. D. (1980). The Use of Path Analysis for Determining the Relative Significance
of Selected Variables and Achievment on a Basic Mathematics Course. Dissertation
and Abstracts International. 40 (April 1980): 5351-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite