ผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อชุมชนท้องถิ่น ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์: กรณีศึกษาชุมชนบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Perawat Nonthachot

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรมอันเป็นผลมาจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีต่อชุมชนบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และ 3) เสนอแนวทางการลดปัญหาผลกระทบ และแนวทางการพัฒนา
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนบ้านรวมมิตรอย่างยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก
เป็นบุคคลสำคัญที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านรวมมิตรมานานกว่า 10 ปี โดยเลือกแบบเจาะจงจากปราชญ์ชุมชน
หรือกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวในชุมชน และกลุ่มตัวแทนชาวบ้าน
ในชุมชนบา้ นรวมมิตรที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุท์ ั้งชนพื้นเมืองและชาวเขาเผา่ ตา่ งๆ ไดแ้ ก ่ กะเหรี่ยง
อาข่า ลาหู่ ม้ง ลีซอ ไทลื้อ ขมุ และลัวะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์และ
แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ
นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาในภาพรวม ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านรวมมิตร อันเป็นผลมาจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้านสภาพ
แวดล้อมพบว่า ชุมชนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคม
และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ด้านเศรษฐกิจในภาพรวมดีขึ้น ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้ และทางเลือก
ในการประกอบอาชีพ ด้านสังคม มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ทำให้ชุมชนรักและหวงแหนวัฒนธรรม
ของตนเองลดน้อยลง 

2. ผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีต่อชุมชนบ้านรวมมิตร ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ก่อให้เกิด
ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ปัญหามลพิษทางอากาศและทางเสียงที่เกิดจากเรือหางยาวรับส่ง
นักท่องเที่ยว ด้านเศรษฐกิจ เกิดปัญหาการกระจายรายได้และการแบ่งปันผลประโยชน์ไม่เป็นธรรม
และโปร่งใส ด้านสังคม เกิดปัญหาความขัดแย้งทางความคิด ปัญหาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
ด้านวัฒนธรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อ การแต่งกาย ภาษา และวัฒนธรรมในการอยู่อาศัย
3. แนวทางการลดปัญหาผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนบ้านรวมมิตร ด้านสิ่งแวดล้อม
ควรส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนแก่นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ
ด้านเศรษฐกิจ ควรปรับระบบการบริหารงานโดยเน้นการเพิ่มกิจกรรมการสร้างรายได้และแบ่งผลประโยชน์
ตอบแทนให้กับชุมชนอย่างชัดเจน ด้านสังคม ควรเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกชนเผ่าในการ
บริหารจัดการกิจกรรมของชุมชน ด้านวัฒนธรรม ควรส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความตระหนักในการร่วมกันสร้าง
ร่วมกันรักษา เพื่อให้คงสภาพความเป็นบ้านรวมมิตรไว้
สำหรับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนบ้านรวมมิตรให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควรสร้างจิตสำนึกที่ดีกับผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรท้องถิ่น
ควรจัดให้มีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน
เน้นการจัดการท่องเที่ยวภายใต้ปัจจัยที่เอื้ออำนวยเพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว และควรส่งเสริมให้มี
การพัฒนาอาชีพ สร้างความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่ชุมชนให้เป็นมรดกสืบทอดต่อไป

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559.
17 มีนาคม 2556, จาก http://www.tica.or.th/images/plan_tourism2555-2559/2555-2559.pdf

กรมการท่องเที่ยว. (2552). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ปี 2549-2552. 27 มกราคม 2556.
http://www.cots.go.th/cr_develop.php

กษมา ประจง. (2548). ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านศรีฐาน ตำบล
ศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,
เลย.

ทิพย์พรรณนา เที่ยงธรรม. (2548). การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมของชุมชนชาวเขา อันเนื่อง
มาจากการทอ่ งเที่ยว: กรณีศึกษา หมูบ่ า้ นรวมมิตร ตำบลแมย่ าว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ธวัชชัย มานิตย์. (2550). ผลกระทบจากการพัฒนาการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาตำบล
เวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่, เชียงใหม่.

นรัตน์ชัย อิ่มสุทธิ์. (2551). ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนอัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

นิพล เชื้อเมืองพาน. (2542). แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามหลักการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
กรณีศึกษา: วนอุทยานภูชี้ฟ้า จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยี
การบริหารสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

บุษบา สิทธิการ สิริวัฒนา ใจมา และจันทอน คำแสน. (2551). ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
และวัฒนธรรมในชุมชนการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เชียงราย.

ปรารถนา ยศสุข และเฉลิมชัย ปัญญาดี. (2550). ผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อชุมชนและ
ครัวเรือนในชุมชนที่มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชนบทภาคเหนือของประเทศไทย. ภาควิชา
ส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ปรียา บัวทองจันทร์. (2551). ผลกระทบของการท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจและสังคม: กรณีศึกษา
จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ภารดี ยโสธรศรีกุล. (2554). การท่องเที่ยวและการเปลี่ยนแปลงสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,
31(4),138.

ยศ สันตสมบัติ. (2546). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการ
ทรัพยากร. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์ จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ จังหวัดเชียงราย
พ.ศ 2552-2554. จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html

Bogdan, C., Biklen, Sari Knopp. (1992). Qualitative Research for Education an Introduction
to Theory and Methods. Boston: Allyn and Bacon.

Hall C. M. and Lew, A. (1998). Sustainable Tourism: A Geographical Perspective.
New York: Longman.

Leonard, V. W. (1989). A Heideggerian phenomenologic perspective on the concept of the
person. Advances in Nursing Science, 11(4), 40-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite