การตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของเด็กและเยาวชน: ศึกษากรณีเฉพาะการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ

ผู้แต่ง

  • Rapheephat Thitiudomphat

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ 1) สถานการณ์การตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของเด็กหรือ
เยาวชนจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ 2) ปัจจัย และสาเหตุที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนต้องตกเป็น
เหยื่อการค้ามนุษย์ จากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ และ 3) แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
การตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของเด็กหรือเยาวชนจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ
ผลการศึกษาพบว่าการค้ามนุษย์นั้น มีวิวัฒนาการมาจากการค้าทาสในอดีตเรื่อยมา ต่อมาได้พัฒนา
ไปเป็นการค้าประเวณี โดยมีกฎหมายออกมาควบคุมการค้าประเวณีขึ้นมา จนมีการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นคือ
มีการส่งหญิงไทยไปค้าประเวณียังต่างประเทศ จากนั้นก็มีการนำหญิงต่างชาติเข้ามาค้าประเวณีในประเทศไทย
ส่วนใหญ่จะเป็นหญิงสาวที่มาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
และราชอาณาจักรกัมพูชา และในเวลาต่อมาผู้ที่เข้ามาค้าประเวณีเริ่มเป็นผู้ที่มีอายุน้อยลง จึงทำให้เกิด
กระบวนการค้ามนุษย์เกิดขึ้น โดยจะมีกลุ่มนายหน้า ผู้จัดหา หรือผู้นำพา ซึ่งจะคอยจัดหาเด็กหรือเยาวชน
ส่งไปค้าประเวณีตามสถานบริการประเภทต่างๆ ส่วนสาเหตุ และปัจจัยของการที่เด็กหรือเยาวชนตกเป็น
เหยื่อการค้ามนุษย์นั้น มีปัจจัยซึ่งเป็นสาเหตุอยู่ 3 ประการ คือ
1) ปัจจัยทางด้านครอบครัว เนื่องจากเด็กหรือเยาวชนมีปัญหาครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ หรือครอบครัว
แตกแยก เช่น บิดามารดาเลิกร้างกัน โดยต่างไปมีครอบครัวใหม่และนำเด็กหรือเยาวชนไปให้ผู้อื่นอุปการะ
เลี้ยงดูแทน หรือในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนอยู่กับมารดาที่มีสามีใหม่เด็กหรือเยาวชนก็จะมีปัญหากับบิดาใหม่
เนื่องจากรู้สึกว่าขาดความอบอุ่นในครอบครัว รวมถึงลักษณะการเลี้ยงดูของบิดามารดาในลักษณะสนับสนุน
ตามใจลูกทุกอย่าง ทำให้เมื่อเติบโตมาเด็กหรือเยาวชนก็จะขาดความเป็นตัวของตนเอง ต้องพึ่งพาผู้อื่น
ตลอดเวลา และถูกชักจูงได้ง่าย2) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเด็กหรือเยาวชนมีพื้นฐานมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน
บิดามารดาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป ซึ่งมีรายได้ที่ไม่แน่นอน ประกอบกับ
ครอบครัวส่วนใหญ่มีบุตรหลายคน เมื่อมีรายได้ไม่แน่นอนและต้องมีรายจ่ายมากขึ้นทั้งค่าอาหารการกิน
ค่าที่พักอาศัย และการศึกษาของบุตร ทำให้บิดามารดาไม่มีเงินส่งเสียเลี้ยงดูบุตรทุกคนได้ เกิดภาวะขัดสน
เงินทอง และมีหนี้สิน
3) ปัจจัยทางด้านสังคม และชุมชน เนื่องจากสภาพชุมชนที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่นั้นมีค่านิยม
ในเรื่องวัตถุนิยม ให้ความสำคัญกับวัตถุสิ่งของ โดยนิยมส่งบุตรสาวไปทำงานยังต่างบ้านต่างเมือง เพื่อ
หาเงินมาให้ครอบครัวใช้จ่าย โดยไม่ได้สนใจว่าบุตรหลานของตนนั้นจะไปประกอบอาชีพอะไร เมื่อเห็น
เพื่อนบ้านที่ไปทำงานยังต่างบ้านต่างเมืองประสบความสำเร็จกลับมา มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็อยาก
จะให้บุตรสาวของตนไปบ้าง
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของเด็กและเยาวชน
ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ซึ่งในการแก้ปัญหานี้จะต้องมีทำงานร่วมกัน
ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนที่อยู่ในชุมชนเหล่านั้นด้วย โดยในส่วนของภาครัฐนั้นจะต้อง
เผยแพร่ให้ความรู้ และตระหนักถึงปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้งผลกระทบในด้านต่างๆ, ทำกิจกรรม
สาธารณประโยชน์ร่วมกับประชาชนโดยมีการเสริมสร้างความรู้ด้านการค้ามนุษย์ไปด้วย, เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตอ้ งออกตรวจตรา และกวดขัน ตามสถานที่ตา่ งๆ ที่เปน็ จุดเสี่ยงที่เด็กหรือเยาวชนอาจมีการลักลอบคา้ ประเวณีได ้
และต้องดำเนินคดีอย่างจริงจังกับผู้ประกอบการ รวมทั้งนายหน้า หรือผู้จัดหาให้มีการค้าประเวณี ในส่วน
ของภาคประชาชนนั้นก็จะต้องมีส่วนร่วมด้วย กล่าวคือ บุคคลในครอบครัวควรดูแลเด็กหรือเยาวชน
อย่างใกล้ชิด ให้ความรัก ความอบอุ่น และปลูกฝังให้เด็กหรือเยาวชนเห็นความสำคัญของปัญหา และ
ต้องสังเกตว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ โดยเฉพาะเด็กหรือเยาวชนที่ติดเกม หรือใช้ยาเสพติด
ก็จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ได้ และในส่วนของชุมชนนั้น ไม่ว่าจะเป็นกำนัน หรือ
ผู้ใหญ่บ้าน ต้องให้ความสำคัญ ตระหนักถึงปัญหา และมีการเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องของการค้ามนุษย์
ให้กับประชาชน และประชาชนจะต้องเป็นหูเป็นตาให้กับชุมชนด้วย

References

ขจร จักรประณีต. (2539). การเปรียบเทียบมูลเหตุจูงใจในการค้าประเวณีของเด็กหญิงและสตรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

จามะรี พิทักษ์วงษ์. (2529). การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยา
และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จิรภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ. (2543). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปฐมาวดี ปทั มาโรจน. (2542). ปจั จัยที่มีผลตอ่ การตัดสินใจเปน็ ขอทาน. วิทยานิพนธป์ ริญญามหาบัณฑิต
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2547). ประวัติความเป็นมาของการค้ามนุษย์และสถานการณ์การค้ามนุษย์
ในประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เรื่องการค้ามนุษย์”.

มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์. (2549). การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมครอบครัวของผู้ตกเป็นเหยื่อ และ
กลุ่มเสี่ยงที่มีผลทำให้เกิดการค้ามนุษย์โดยเฉพาะกรณีการค้าหญิงและเด็ก. รายงานการวิจัย
เสนอกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

วิลาวัลย์ ลิมปนะวรรณะกุล. (2547). กระบวนการเข้าสู่การตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของหญิงและเด็ก:
ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านเกร็ดตระการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร สโครบาเนค และคณะ. (2540). การค้าหญิง: ฤๅวิถีสังคมไทย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ผู้หญิง.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2536). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม: แนวทางการศึกษาวิเคราะห์
และวางแผน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite