ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อครูผู้สอนวิชาเปียโน ในโรงเรียนดนตรีประเภทการศึกษานอกระบบ 15(2) : กรณีศึกษาโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • Jerada Jeraassawapong

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อครูผู้สอนวิชา
เปียโนในโรงเรียนดนตรีประเภทการศึกษานอกระบบ 15(2) : กรณีศึกษาโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคล
ทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลจากผู้ปกครองของนักเรียนเปียโนในระดับชั้นต้นและ
ชั้นกลางจำนวนทั้งสิ้น 217 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ตอน ตอนที่หนึ่งแบบสอบถาม
สถานภาพส่วนบุคคล ตอนที่สองแบบสอบถามความคาดหวังและความพึงพอใจ ตอนที่สามแบบสอบถาม
ปลายเปิดโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ที่ 0.93
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมีความคาดหวังและความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน โดยค่าเฉลี่ย
ของความคาดหวังที่มีระดับนอ้ ยกว่าความพึงพอใจในภาพรวมมี 2 ด้าน ได้ ความคาดหวังในด้านบุคลิกภาพ
และความคาดหวังในด้านความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยของความคาดหวังที่มีค่า
มากกว่าความพึงพอใจในภาพรวมมี 1 ด้าน ได้แก่ ความคาดหวังในด้านความรู้ความสามารถทางด้านการ
จัดการเรียนการสอน

References

การศึกษานอกระบบ : การขอจัดตั้งโรงเรียนเอกชนตามมาตรา 15(2) ประเภทกวดวิชา. (2549),
จาก http://www.singarea.net

พิมพ์หทัย ชินะผา. (2549). ทักษะความสามารถสำหรับครูเปียโนสตูดิโอในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2550). โรงเรียนดนตรีเอกชนในประเทศไทยกับปัญหาและการพัฒนา, จาก
http://www.musiclandusedpiano.com/index.php?mo=14&newsid=17902

สุกรี เจริญสุข. (2548). พรสวรรค์สร้างได้. นครปฐม : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุทธิยา จองสว่าง. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเอกชนของ

นักศึกษาระดับปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพมหานคร.

หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรแนะแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite