การพัฒนาภาคีเพื่อแก้ไขปัญหาการจำหน่ายยา และอาหารไม่ปลอดภัยในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาภาคีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา
การจำหน่ายยาและอาหารที่ไม่ปลอดภัยในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยใช้การมีส่วนร่วมและ
กระบวนการกลุ่มในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการร้านขายของชำ
ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบการร้านขายของชำ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข
ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมและกระบวนการกลุ่มสามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาภาคีในการ
แก้ไขปัญหาการจำหน่ายยาและอาหารไม่ปลอดภัย คือ ผู้ประกอบการร้านขายของชำ จำนวน 15 คน
ร่วมกันคิดหาสาเหตุของปัญหา แนวทางในการแก้ไขปัญหา และร่วมกันดำเนินกิจกรรมตามแผนเพื่อการ
แก้ไขปัญหา แผนการดำเนินงานการพัฒนาภาคีเพื่อแก้ไขปัญหาการจำหน่ายยาและอาหารที่ไม่ปลอดภัย
ได้แก่ การจัดอบรมความรู้เรื่องยาและอาหารสำหรับผู้ประกอบการร้านขายของชำ การสร้างปฏิทินเพื่อ
ทำความสะอาดและตรวจสอบสินค้าภายในร้านขายของชำ การออกตรวจร้านขายของชำร่วมกันของ
ผู้ประกอบการร้านขายของชำ การประกวดร้านขายของชำต้นแบบ ซึ่งสามารถลดปัญหาการจำหน่ายยาและ
อาหารไม่ปลอดภัยในร้านขายของชำ มีความต่อเนื่องของแผนการดำเนินงาน มีการติดต่อ และเกิดการ
ช่วยเหลือเกื้อกูลและการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการร้านขายของชำและสมาชิกในชุมชน
References
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาส่งเสริมสุขภาพ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กนกรัตน์ ทิพนี. (2552). กระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชนบ้านวังธาร อำเภอ
ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาส่งเสริมสุขภาพ)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทร์จิรา อังธนาณุกุล. (2547). ปัจจัยที่มีผลการปรับปรุงร้านขายของชำในเขตอำเภอเมือง จังหวัด
เชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทวีทอง พงษ์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข.
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสาธารณสุข. (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ.
ทัศนีย์ ไทยาภิรมณ์. (2526). วิธีการระดมการมีส่วนร่วมของชุมชน. นิตยสารการประชาสงเคราะห์,
26 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2526), 11.
ธิดารัตน์ อัฐกิจ. (2548). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาวะทางสังคมในเขตเทศบาลตำบลแม่ตืน
อำเภอลี้ จังหวัดพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาส่งเสริมสุขภาพ) บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บงการ ชัยชาญ. (2546). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก อำเภอ
เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเสริฐ กิตติประภัสร์. (2535). การซื้อขายยาในร้านขายของชำ : กรณีศึกษาในหมู่บ้านร่มเย็น
จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (2552). รายงานการออกตรวจร้านขายของชำ.
ลำพูน.