ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทขนาดเล็ก ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • Praeshompoo Jankrajang

คำสำคัญ:

ปัจจัยการตัดสินใจ, รีสอร์ทขนาดเล็ก, อัมพวา, สมุทรสงคราม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทขนาดเล็ก ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และเปรียบเทียบปัจจัยดังกล่าวจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภค ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจจากประชากรซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว ที่มาพำนักในเขตอำเภออัมพวา โดยสุ่มตัวอย่างมา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์สถิติ  เชิงพรรณนา การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่มีเป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 26 – 35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท สถานภาพสมรส ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทขนาดเล็ก ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในภาพรวมมีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีปัจจัยการตัดสินใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน อันดับที่หนึ่ง คือ                 ด้านลักษณะรีสอร์ทขนาดเล็ก รองลงมาด้านการบริการ ด้านราคา และด้านการสื่อสารการตลาด ตามลำดับ

            ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้ต่างกัน มีปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทขนาดเล็ก ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผู้ใช้บริการที่มีอาชีพต่างกันมีปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทขนาดเล็กในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพต่างกันมีปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทขนาดเล็ก ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน จากการศึกษาเรื่อง ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทขนาดเล็ก ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ศึกษาขอเสนอแนะ ดังนี้

          ผู้บริหารควรตระหนักและมุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆรีสอร์ทให้มีความสะอาดและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยจัดอบรมสัมมนาพนักงานและผู้รับผิดชอบให้ดูแลปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอยู่  รอบ ๆบริเวณรีสอร์ท ให้มีความสะอาด และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยจัดอบรมสัมมนาพนักงานและผู้รับผิดชอบให้ดูแลปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆบริเวณรีสอร์ท ให้สะอาด สบายตา สบายใจ แก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียน เพราะในปัจจุบันรีสอร์ทที่เป็นคู่แข่งขันในเขตเมืองอัมพวาเกิดขึ้นมากมายพร้อมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดไว้บริการสำหรับลูกค้า อย่างไรก็ดีผู้บริหารจึงควรหาเทคนิคกลยุทธ์ที่มีความแตกต่างออกไป เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการรีสอร์ท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริการแบบครบวงจร เช่น บริการด้านอาหาร – เครื่องดื่ม บริการด้านสปา บริการด้านเสริม   ความงาม บริการด้านบันเทิง คาราโอเกะ เป็นต้น สิ่งสำคัญผู้บริหารจะต้องจัดงบประมาณสำหรับโฆษณาประชาสัมพันธ์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้พนักงานหรือผู้รับผิดชอบได้ดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปได้

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2547). สถิติการท่องเที่ยวประจำปี 2547. กรุงเทพฯ: ส่วนวิจัย และสถิติการท่องเที่ยว ททท.

วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วุฒิชัย จำนง. (2541). พฤติกรรมการตัดสินใจ.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2540). การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: A.N. การพิมพ์.

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2540). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

สุมนา อยู่โพธิ์. (2540). ตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด : การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์.

แห่งประเทศไทย, ธนาคาร. (2547). แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2544). กลยุทธ์การตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิรศักดิ์ ปฤษฎางค์บุตร. (2550). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการนวดแผนโบราณ กรณีศึกษาหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

นัดดา ทมมืด. (2545). ความตระหนักรู้และทัศนคติของกลุ่มคนวัยทำงานถึงผลการโฆษณาที่มีต่อการตัดสินใจซื้อ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

Kotler, Philip. (2000). Marketing Management, International Edition. New Jersey : Prentice Hall.

Parasuraman, A., Berry, L. L., and Zeithaml, V.A. (1990). Delivering quality quality services, Balancing customer perceptions and expectations. New York: NY : Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2018

How to Cite