การศึกษากระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงาน ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
สหกิจศึกษา, การพัฒนาศักยภาพ, บัณฑิต, การปฏิบัติงาน, สถาบันอุดมศึกษาเอกชนบทคัดย่อ
การศึกษากระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นอาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่มีการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 338 คนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับกระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2. ศึกษาความสัมพันธ์กระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษากับการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3. ศึกษาปัจจัยของการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตมาพัฒนาในการจัดการศึกษาในการพัฒนาประสิทธิภาพของบัณฑิตให้ยั่งยืน
เครื่องมือในการศึกษา เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยวิธีการของ สเปียร์แมนแรงค์ (Spearman Rank correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษาในภาพรวมและรายด้าน
อยู่ในระดับมาก โดยด้านการนิเทศงานสหกิจศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดรองลงมาคือด้านการประเมินผลและด้านการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมและด้านการจัดประสบการณ์วิชาชีพ ตามลำดับ - ความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านทัศนคติและพฤติกรรมและด้านผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ
- การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษากับการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานในภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษามีความสัมพันธ์กับการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยของการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานมาพัฒนาในการจัดการศึกษาในการพัฒนาประสิทธิภาพของบัณฑิตให้ยั่งยืน พบว่า ปัจจัยของกระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษาที่มีค่าความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง กับศักยภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานได้แก่ 1. ด้านการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม 2. ด้านการจัดประสบการณ์วิชาชีพ 3. ด้านการนิเทศงานสหกิจศึกษา และ 4. ด้านการประเมินผล ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของบัณฑิตให้ยั่งยืนเพราะมีระดับความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง นับว่ามีผล ต่อการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิต ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการศึกษารูปแบบสหกิจศึกษากับการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตที่มีระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ได้แก่ 1. ด้านการจัดหลักสูตรและ 2. ด้านการจัดภาคปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นับว่าเป็นข้อมูลที่จะต้องนำมาปรับปรุง แก้ไขปัจจัยดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพของบัณฑิตให้ยั่งยืน
References
ฐิติมา อัศวพรหมธาดา,ปิยฉัตร จันทิวา,สุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2552). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาจากสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม.วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม.5, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).
นีรนุช ภาชนะทิพย์,กัลยาณี ตรีวัฒน์,ลิลา วุฒิวาณิชยกุล,ปฐมาวดี กุลวัฒนไพศาล. (2547).การติดตามผลการเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,รายงานการวิจัย. กองบริการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตบางเขน.
ยุวดา ไฝ่ฝัน. (2551). การศึกษาการจัดสหกิจศึกษากับการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). ประมวลสาระชุดฝึกอบรมสหกิจศึกษา.กรุงเทพฯ.
อนงค์นาฎ เมฆฉาย. (2549). การติดตามผลโครงการสหกิจศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ.
อลงกตยะไวทย์. (2549). การพัฒนารูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารีจากผลการเปรียบเทียบสมรรถนะกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎี-บัณฑิตคณะครุศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Calway, B.A. and Murphy, G.A. (2000). Career progression of Cooperative Education graduates. J of Coop Ed 2000; 35:19-1