โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

ผู้แต่ง

  • Suphan Promtan

คำสำคัญ:

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ความกตัญญูกตเวที

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลรวม อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 500 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรต้น 4 ตัวแปร ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน และลักษณะทางจิตของนักเรียน ตัวแปรตาม คือ ความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณค่าสถิติพื้นฐานและใช้โปรแกรม LISREL วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

            ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและลักษณะทางจิตของนักเรียน ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 12.23 องศาอิสระ(df) เท่ากับ 26 ค่าความน่าจะเป็น (P) เท่ากับ 0.98 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน(GFI)เท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ(CFI) เท่ากับ 1.00 ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน(SRMR) เท่ากับ 0.01 ดัชนีวัด ความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R-SQUARE) เท่ากับ 0.80 แสดงว่า ทุกโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี

               ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมต่อความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3สูงสุด คือ สิ่งแวดล้อมทางสังคม รองลงมาคือ สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว ลักษณะทางจิตของนักเรียนและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.80, 0.58, 0.49, 0.06 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงสุด คือ ลักษณะทางจิตของนักเรียน มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.49 และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงสุดคือ สิ่งแวดล้อมทางสังคม มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.68

References

ข้อมูลสารสนเทศ. (ออนไลน์) . แหล่งที่มา : http://www.cmarea3.go.th/new52/school/. 2552.

เงิน ชาตเมธี. ความกตัญญูกตเวทีในฐานะคุณธรรมค้ำจุนสังคมจากมุมมองพระพุทธศาสนา.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. (พระพุทธศาสนา) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย, 2549.

จริยา วีระพันธ์เทพา. ความกตัญญูกตเวทีในวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธในปัจจุบัน.

วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (วิชาพุทธศาสนศึกษา) กรุงเทพ : หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

ดนัย ไชยโยธา, บรรณาธิการ. สังคม วัฒนธรรมและประเพณีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
โอเดียนสโตร์, 2546.

ถิราพร ศุภสิริวุฒิ. ปัจจัยด้านลักษณะทางจิต ด้านสภาพแวดล้อมและด้านชีวสังคม ที่เกี่ยวข้องกับ
พฤติกรรมการดูแลเกื้อหนุนบุพการีสูงอายุของบุตร. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) กรุงเพทฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.

ธัญญา สนิทวงค์ ณ อยุธยา. สถาบันครอบครัวกับความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม.

บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเพทฯ : ฟ้าอภัย, 2545.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. โมเดลลีสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเพทฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

ปัทมา ปรัชญาเศรษฐ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความกตัญญูกตเวทีของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ ค.ม.
(การวิจัยและสถิติทางการศึกษา) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.

พุทธทาสภิกขุ. เยาวชนกับศีลธรรม. สุราษฎร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ, 2537.

วิริยาภรณ์ ชัยชลทรัพย์. การทดลองสอนความกตัญญูกตเวทีแก่เด็กที่มีระดับพัฒนาการทาง
สติปัญญาต่างกันโดยวิธีกลุ่มสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2525.

สำลี รักสุทธี. มงคลชีวิต 38. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์จำกัด, 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2018

How to Cite