การวิเคราะห์อภิมานประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์อภิมาน, ประสิทธิภาพ, รูปแบบการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเชิงทดลองและเชิงพัฒนาเกี่ยวกับรูปแบบการสอนที่พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล (Effect Size) ของรูปแบบการสอนที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาการคิดวิเคราะห์กับระดับชั้นและกับกลุ่มวิชาที่สอน เพื่อศึกษาความแตกต่างของประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนว่าเกิดจากคุณลักษณะใดของงานวิจัย และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลทางตรง ทางอ้อม ของตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่มีต่อค่าขนาดอิทธิพลด้วยการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) กลุ่มตัวอย่างงานวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ของนิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลในระบบออนไลน์ ThaiLIS ระหว่าง พ.ศ. 2546-2552 จำนวน 69 เรื่อง จากประชากรทั้งสิ้น 88 เรื่อง ตัวแปรอิสระที่ศึกษา มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวแปรรูปแบบการสอนที่ใช้ในการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนรวม 44 รูปแบบ และกลุ่มตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 19 ตัวแปร ตัวแปรตามคือค่าขนาดอิทธิพล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบคัดเลือกงานวิจัย 2) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย 3) แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์อภิมานค่าขนาดอิทธิพลด้วยสูตรของ Glass และคณะ ประมาณค่าขนาดอิทธิพลโดยใช้สถิติที่ทำให้ปลอดจากความคลาดเคลื่อนด้วยสูตรของ Hedges และ Olkin, One way ANOVA, Two way ANOVA, Multiple Regression และวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัย พบว่า
- ขนาดอิทธิพลของรูปแบบการสอนที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน มีจำนวนทั้งสิ้น 44 ค่า ขนาดอิทธิพลอยู่ระหว่าง -.48-1.93 โดยมีขนาดอิทธิพล ระดับมาก 41 ค่า ระดับน้อย จำนวน 2 ค่า เป็นค่าลบ 1 ค่า
- รูปแบบการสอนในงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ครั้งนี้มีทั้งหมด 44 รูปแบบ เป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในระดับมาก จำนวน 41 รูปแบบ มีประสิทธิภาพระดับน้อย จำนวน 2 รูปแบบ และไม่มีประสิทธิภาพ จำนวน 1 รูปแบบ และรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนสูงสุด ได้แก่ การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เมื่อพิจารณารูปแบบการสอนทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้ใกล้เคียงกันหรือไม่แตกต่างกันได้แก่ กลุ่มรูปแบบการสอนที่เป็นสากล กลุ่มรูปแบบการสอนที่นักการศึกษาไทยสร้างขึ้นและที่นิสิตนักศึกษาไทยบูรณาการจากรูปแบบการสอนที่เป็นสากล และกลุ่มรูปแบบการสอนที่นิสิตนักศึกษาไทยสร้าง/พัฒนาขึ้น
- ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาการคิดวิเคราะห์กับระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มวิชาที่สอน พบว่า มีอิทธิพลทั้งโดยตรง และอิทธิพลร่วมต่อประสิทธิภาพรูปแบบการสอนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
- มีความแตกต่างกันระหว่างค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลระหว่างระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างคือ ระดับปฐมวัย-ป.3 ระดับ ม. 1-3 และระดับ ม. 4-6 มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล () สูงกว่าระดับ ปวช.-ปวส. ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่ตั้งสมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทางสูงกว่าการตั้งสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่ใช้สถิติ t-test สูงกว่าค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของงานวิจัยการใช้สถิติ ANCOVA กับ สถิติ MANCOVA และค่าเฉลี่ยของงานวิจัยที่มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ กับงานวิจัยที่มีคุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่มีคุณภาพดี โดยตัวแปรดัมมี่คุณลักษณะงานวิจัยทั้ง 64 ตัวแปร ร่วมกันอธิบายความแตกต่างหรือความแปรปรวนนี้ได้ร้อยละ 54.70 (adjusted R2 = .547)
- การส่งอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของคุณลักษณะงานวิจัยต่อค่าขนาดอิทธิพลโดยการทดสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลตามทฤษฎีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกัน
References
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. สงขลา : ภาควิชาการประเมินผลและวิจัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2548.
ชูศรี วงศ์รัตนะ และ องอาจ นัยพัฒน์. แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์ : แนวคิด
พื้นฐานและวิธีการ = Experimetal Research Desing and Statistics : Basic concept
and Methods. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
ทิศนา แขมมณี. . ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
นิตยา เหมือดไธสง. การส่งอิทธิพลผ่านตัวกลางเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านนักเรียน ด้านครู ด้านโรงเรียนไปยัง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ : การวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (วิจัยการศึกษา) กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
เบญจมาศ เทพบุตรดี. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และ
ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการ
เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL.) และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และ สมชาติ สว่างเนตร. การวิเคราะห์เส้นโยงด้วยลิสเรล : สถิติสำหรับ
นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคมและพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์, 2535.
ปิยะฉัตร ฉ่ำชื่น. การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในงานพยาบาล.
วิทยานิพนธ์ พย.ม. (การบริหารการพยาบาล) กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
วรรณี อริยะสินสมบูรณ์. การสังเคราะห์งานวิจัยในสาขาจิตวิทยาการศึกษา : การวิเคราะห์อภิมาน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
วสันต์ ทองไทย. การออกแบบการวิจัย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http:www.bpcd.net/new_subject/. 2551.
วัยญา ยิ้มยวน. การวิเคราะห์อภิมานปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
ศิริยุภา พูลสุวรรณ. การศึกษาประสิทธิภาพของสื่อการสอนโดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน. ปริญญานิพนธ์
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ, 2530.
สรายุทธ์ เศรษฐขจร. การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
โดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา) กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2539.
อิทธิฤทธิ์ พงษ์ปิยะรัตน์. อิทธิพลของปัจจัยด้านนักเรีน ครู และโรงเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ : การวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(วิจัยการศึกษา)
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. การสังเคราะห์งานวิจัย : เชิงปริมาณ (Research Synthesis : A Quantitative
Approach) เน้นวิธีวิเคราะห์เมตต้า (A Meta Analysis). กรุงเทพมหานคร : ฟันนี่พับลิชชิ่ง, 2531.
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.).Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum
Associates (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://books.google.com/,1988.
Gene V. Glass, Barry McGaw, and Mary Lee Smith. META-ANALYSIS IN SOCIAL RESEARCH.
2nd ed. Beverly Hills London : Sage Publications, 1982.