สภาพและปัญหาการบริหารจัดการระบบประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

ผู้แต่ง

  • Supun Yakongko

คำสำคัญ:

โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ  ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการระบบการ

ประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย  คือ ผู้บริหารและครู

ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและ

ประเมินคุณภาพการศึกษา  จำนวน  1,291  คน/รูป  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและ

แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1.   สภาพการบริหารจัดการระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญ

ศึกษา  ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 

  1. ปัญหาการบริหารจัดการระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญ

ศึกษา  ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง

  1. แนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม

แผนกสามัญศึกษา ได้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรกำหนดนโยบายการส่งเสริมการดำเนินการประกัน

คุณภาพการศึกษาให้ชัดเจน  ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและผู้มีส่วน

เกี่ยวข้องได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา  โดยส่งเข้ารับการอบรม  หรือ

เชิญวิทยากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญไปบรรยายเพื่อให้ ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความรู้ ความเข้าใจและ

ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

 

References

กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมการศาสนา. (2543). การประเมินผลการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ. กรุงเทพฯ :
กรมการศาสนา.

กาญจนา นิยมนา. (2547). สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนิตย์ ไชยแก้ว. (2549). สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่
การศึกษาแพร่ เขต 2. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นิรันดร์ นันทะศรี. (2550). การดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รุ่ง แก้วแดง. (2544). ประกันคุณภาพการศึกษาทุกคนทำได้ไม่ยาก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนา
พานิช.

สมคิด พรมจุ้ยและสุพักตร์ พิบูลย์. (2544). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน. (2549). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา โครงการประกัน
คุณภาพภายในของสถานศึกษา โครงการประกันคุณภาพการศึกษา ลำดับที่ 5. www.moe.go.th

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กองพุทธศาสนศึกษา. (2552). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุเทน โคตรภูเวียง. (2533). การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในคณะสงฆ์ภาค 9.

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หุมเพ็ง พันธะจันทร์สุข. (2547). สภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัด
ขอนแก่น. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เทพสตรี.

อาคม ธนอุดมนาน. (2548). ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2018

How to Cite