การเข้าถึงประกันสังคมของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Nirund Thiptananont

คำสำคัญ:

ประกันสังคม, แรงงานนอกระบบ, คุณภาพชีวิตแรงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร ความรู้ ความพึงพอใจ การได้รับข่าวสาร ประโยชน์ที่ได้รับ ความยุ่งยากซับซ้อน ความน่าเชื่อถือ และความเพียรพยายามของรัฐ กับการเข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้เสนอหลักการไว้เมื่อปี พ.ศ.2549 แบบสมัครใจ ซึ่งประกอบด้วยสิทธิประโยชน์ 3 ด้านคือ การประกันคลอดบุตร การประกันทุพพลภาพ และการประกันเสียชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางแก่หน่วยงานของรัฐในการกำหนดนโยบายและแผนในการให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการประกันสังคมอย่างถูกต้องเพียงพอ เพื่อส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าร่วมโครงการประกันสังคมมากยิ่งขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

            ประชากรในการศึกษาคือ ผู้มีงานทำที่มีอายุระหว่าง 15 - 60 ปีซึ่งไม่มีประกันสังคมในกรุงเทพมหานคร(ไม่รวมปริมณฑล)  แผนการสุ่มตัวอย่างใช้แบบ Two-stage Stratified Sampling  จากเขตทั้งหมด 50 เขตของกรุงเทพมหานคร  การสุ่มขั้นที่หนึ่งได้ตัวแทนคือ เขตดุสิต เขตภาษีเจริญ และเขตลาดกระบัง  การสุ่มขั้นที่สองได้ตัวแทนคือ แขวงสี่แยกมหานาค แขวงปากคลองภาษีเจริญ และแขวงคลองสามประเวศ   ขนาดตัวอย่างคือ 600 หน่วย  เป็นหญิง 376 คน และชาย 224 คน  เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Binary Logistic Statistics  ด้วยเทคนิค Enter พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมโครงการประกันสังคมของแรงงานนอกระบบคือ ปัจจัยความรู้ การได้รับข่าวสาร และความเพียรพยายามของรัฐบาล และเป็นไปในทิศทางบวกทั้งหมด                                                      

               แนวทางส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าร่วมโครงการประกันสังคมมากขึ้นคือ รัฐบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของประกันสังคมให้มากขึ้นในประเด็นสำคัญดังนี้คือ ประโยชน์ที่จะได้รับ  ประเภทของสิทธิประโยชน์  เงื่อนไขของสิทธิประโยชน์แต่ละประเภท อัตราเงินสมทบ  และระเบียบการสมัครประกันตน รัฐบาลควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการประกันสังคมให้มากขึ้นกว่าเดิมในสื่อทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อบุคคลและสื่อโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อที่แรงงานนิยมใช้หาข้อมูลข่าวสารและให้ความเชื่อถือมากที่สุด  นอกจากนี้รัฐบาลควรศึกษาสำรวจความต้องการและประเภทของสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมด้วยเพื่อให้แรงงานสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ที่สอดคล้องกับความจำเป็นของตนและความสามารถในการจ่ายเงินสมทบ

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.(2547). การสัมมนาระดับชาติเรื่องแนวทางในการปรับปรุง
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน. 23-24 พฤศจิกายน 2547.
กรุงเทพมหานคร : โรงแรม เอส ดี อเวนิว, 2547.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2547). ยุทธศาสตร์การบริหาร
จัดการเศรษฐกิจนอกระบบ. เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2547 เรื่องเศรษฐกิจ
นอกระบบกับการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ. 24 มิถุนายน 2547. นนทบุรี : ศูนย์
แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี, 2547.

สำนักงานประกันสังคม.(2551).รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ, 2551.
(2552).รายงานประจำปี.กรุงเทพฯ, 2552.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2546).โครงการสำรวจแรงงานนอกระบบ.กรุงเทพฯ,2546.
(2548).โครงการสำรวจแรงงานนอกระบบ.กรุงเทพฯ,2548
(2549).โครงการสำรวจแรงงานนอกระบบ.กรุงเทพฯ,2549
(2552).โครงการสำรวจแรงงานนอกระบบ.กรุงเทพฯ,2552.

Barrientos, A. (2008). Extending the coverage of social security pensions: New strategies
for old-age income security in Africa, paper presented at the Regional Social Security
Forum for Africa, Kigali, Rwanda, 18-20 Nov.

Egger, Philippe.(2002). Towards a policy framework for decent work in International
Labour Review, Vol. 1, 2002, No 1-2: 161- 174.

Ginneken, Wouter van (1999). Social security for the excluded majority:Case Studies of
development countries. (Geneva, ILO, 1999).

ILO.(2001). Social security: A new consensus. (Geneva, 2001, VI, 114 p) ISBN 92-2-11-
26-24-2.

.(2002). Report of the Committee on the Informal Economy; sixth item on the
agenda”: general discussion. Conclusions. (International Labour Conference, 98th
session, 2002, 62p)

.(2006). Social security and coverage for all: restructuring the social security
scheme in Indonesia. (Jakarta, 2003, xxii, 394 p.) ISBN 92-2-113568-3.


International Social Security Association. ( 2007). Extending social security: Concepts,
global trends and policy issues. International Social Security Review, Vol. 60,
No. 2-3, pp. 39-57.

.( 2009). Extending social security to all: A review of challenges, present practice and strategic options. Draft for discussion by the Tripartite Meeting of Experts on strategies for the security coverage,Generva, 2-4 Sep.

Kotler, P. (1975). Marketing for nonprofit organizations. Englewood Cliffs, NJ:Prentice
Hall.

McKinnon, R. (2007). Dynamic Social Security: A framework for directing change and
extending coverage. International Social Security Review, Vol. 60, No. 2/3
(2009). The ISSA and Dynamic Social Security : Global social
governance and local social action. Global Social Policy, Vol. 9, No.1.

OECD.(2008). Report on Informal Employment in Romania. The Development Center
of the Organization for Economic Co-operation and Development , 2008.

Rogers, Everett M. (2003). Diffusion of Innovations. Fifth Edition. New York, NY: Free
Press. ISBN 0-7432-2209-1.

Van Ginneken, Wouter. (1999). Social security for the excluded majority, case studies of
developing countries. (Geneva, ILO, 1999,198 p.) ISBN 92-2-110856-2
(2009). Extending social security coverage: Good practices, lessons learnt and ways
forward” (Geneva, ISSA Project on examining the existing knowledge of social security coverage. Working Paper 14).

WHO.(2007). Extending Social Health Insurance to the informal Sector in Kenya, An
Assessment of factor Affecting Demand. WHO, Department of Health Systems
Financing (HSF) , National Hospital Insurance Fund (NHIF) of Kenya and German
Technical Cooperation (GTC) Eschborn, Germany, 2007.

World Bank.(2004). Informality : What it is, What to do about it?. The World Bank
Report,2004.

. (2007). World Bank Report 2007. Washington, D.C,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2018

How to Cite