การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • Krisawan Prasertsith

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันนักศึกษาที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์น้อย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 427 คน ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จากนักศึกษาที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ นิสัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เจตคติทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน การปรับตัวของนักศึกษาและเกรดวิชาคณิตศาสตร์โดยตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้ร้อยละ 66.91

สมการพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้

  1. สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ

gif.latex?\hat{ํY} =  0.287 + 0.536HMATH + 0.265ATMATH + 0.089ADAP + 0.046GMATH

  1. สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ

 gif.latex?\hat{ํY} = 0.518 ZHMATH + 0.331ZATMATH + 0.079ZADAP + 0.070ZGMATH

References

กมลธรรม เพ็ชราลดาคุณ. 2548. การสร้างแบบวัดความรู้วิชาพื้นฐาน ความรู้พื้นฐานด้านทักษะ ทางคอมพิวเตอร์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคอมพิวเตอร์ : กรณีศึกษา หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

โกศล มิตรชื่น. 2547. ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ TAI (Team Assisted Individualization) ที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และผลสัฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา และการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประเมศว์ วัฒนโอภาส, นภาพร วัฒนโอภาส และนิทรา ปัญจมาศ. 2548. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี. รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี.

ระวิวรรณ ภาโสดา. 2549. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วัฒนา ปลาตะเพียนทอง. 2546. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนา สุนทรธัย. 2549. การสร้างความรู้ สู่เกรดคาดหมาย. รายงานการวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วันทนา กิติทรัพย์กาญจนา. 2546. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สำลี มั่นหมาย. 2546. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุคนทา โหศิริ. 2549. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุณี ครุฑบุตร. 2547. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด ความวิตกกังวล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนศรีพฤฒา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุพัตรา วะยะลุน. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎเขตอีสานใต้.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ. 2549. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชากายวิภาค และพยาธิวิทยาช่องปาก หัวข้อ รายละเอียด และรูปร่างของฟันแท้ และฟันน้ำนม ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์(ทันตสาธารณสุข) ชั้นปี 1 ปีการศึกษา 2548 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. งานวิจัยได้รับทุนจากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.

เอนก แสนมหาชัย. 2549. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ระดับ ปวส. 2 สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Atkinson, J.W. 1964. An Introduction Psychology. Princeton : D.Van Nostrand Cc.

McClelland, D.C. 1961. The Achivemant Society. NewYork : Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2018

How to Cite