การศึกษาความต้องการการศึกษาต่อด้านสาธารณสุขของบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
คำสำคัญ:
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น, สาธารณสุข, ความต้องการศึกษา, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควรตระหนักถึงความต้องการของตลาดงาน โดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด และความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้นควรมีการศึกษาความต้องการของหน่วยงานหรือตลาดงานที่ต้องการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน เพื่อที่จะได้ผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับภารกิจของหน่วยงาน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงศึกษาความต้องการศึกษาของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านสาธารณสุข เพื่อศึกษาความต้องการที่จะศึกษาต่อของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านสาธารณสุข ศึกษาความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องการพัฒนาบุคลากรในด้านสาธารณสุข และศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งผลการศึกษา พบว่า
1.ความต้องการศึกษาต่อด้านของบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการให้บุคลากรในสังกัดศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มากที่สุด คือ (47.71) รองลงมาคือ ระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 43.51) สาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อมากที่สุดคือ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ทั่วไป (ร้อยละ 34.55) รองลงมาคือ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม(ร้อยละ 33.09) และสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมจำนวน (ร้อยละ 32.66) โดยสำนักงานเทศบาลมีความต้องการให้บุคลากรศึกษาต่อในระดับปริญญาโทมากกว่าองค์การบริหารส่วนตำบล และยังต้องการให้บุคลากรศึกษาต่อในสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมมากว่าสาขาวิชาอื่นๆ เช่น สาธารณสุขศาสตร์ทั่วไปและการจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลต้องการให้บุคลากรศึกษาต่อในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ทั่วไปมากกว่าสาขาวิชาอื่นๆ (อนามัยสิ่งแวดล้อม,การจัดการสิ่งแวดล้อม) และปี พ.ศ. ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคาดว่าจะให้บุคลากรศึกษาต่อมากที่สุด คือ ปี พ.ศ. 2553 รองลงมาคือ ปี พ.ศ. 2554
2.ความต้องการบุคลากรด้านสาธารณสุขเพิ่มเติมจากที่มีบุคลากรด้านสาธารณสุขอยู่แล้ว ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการบุคลากรด้านสาธารณสุข เพิ่มเติม จำนวน 624 หน่วยงาน โดยหน่วยงานที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหน่วยงานที่ต้องการบุคลากรด้านสาธารณสุขเพิ่มเติมมากที่สุด คือจำนวน 462 หน่วยงาน(ร้อยละ 74.04) และสำนักงานเทศบาล ต้องการบุคลากรด้านสาธารณสุขเพิ่มเติม จำนวน 162 หน่วยงาน (ร้อยละ 25.96) และสาขาวิชาที่ต้องการบุคลากรเพิ่มเติมมากที่สุดคือ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ทั่วไปมากที่สุด รองลงมาคือสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และระดับการศึกษาที่ต้องการบุคลากรเพิ่มเติมมากที่สุด คือ ระดับปริญญาตรี รองลงมาคือ ระดับปริญญาโทสำหรับความต้องการสนับสนุนที่จะพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องการสนับสนุนบุคลากรในหน่วยงานของตนเองมากที่สุด (ร้อยละ 67.02) และยังต้องการสนับสนุนให้ทุนนักเรียนที่เพิ่งจะสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วทำงานในหน่วยงานของตนเอง (ร้อยละ 32.98)
3.จำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุข พบว่า ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบุคลากรด้านสาธารณสุข จำนวน 1,239 คน โดยแบ่งเป็นสำนักงานเทศบาล จำนวน 784 คน และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 455 คน
References
มหาดไทย, กระทรวง. (2540) สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
รายงานการวิจัยเรื่อง ปัญหาการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล เอกสาร
เอกสารประกอบการสัมมนาเวทีท้องถิ่น เรื่องทางออกการบริหารงานบุคคลของ อบต.
สำนักงานประเมินและประกันคุณภาพ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2550). รายงานบัณฑิตได้งานทำตรง
สาขาที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2549. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.