สภาพการผลิตและการใช้สื่อเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ระดับการศึกษาปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • Phinyaphat Kawinkham

คำสำคัญ:

สภาพการผลิตและการใช้สื่อเตรียมความพร้อม, ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, ครูระดับการศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสภาพการผลิตและการใช้สื่อเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับการศึกษาปฐมวัย ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอนในระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเชียงราย เขต 1-4 จำนวน 1,090 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่าง 284 คนเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ค่าความเชื่อมั่น .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมครูผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 89.8) อายุระหว่าง 31-35 ปี (ร้อยละ 22.5) ดำรงตำแหน่งทางวิชาการครู คศ.2 (ร้อยละ 37.7) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 87) คุณวุฒิสาขาการศึกษาปฐมวัย (ร้อยละ 34.51) ส่วนใหญ่สอนไม่ตรงตามคุณวุฒิ (ร้อยละ 62.3) สภาพการผลิตและการใช้สื่อเตรียมความพร้อมระดับการศึกษาปฐมวัยในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากทุกขั้นตอน โดยขั้นกำหนดวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.19, S.D.=0.59) สื่อเตรียมความพร้อมที่ใช้มากที่สุดได้แก่ ของจริง ของจำลอง และ แบบฝึกเตรียมความพร้อม เนื้อหาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ครูพบว่าเป็นปัญหาในการผลิตสื่อเตรียมความพร้อมได้แก่เรื่องเศษส่วน ซึ่งเป็นผลมาจากครูไม่เข้าใจมโนทัศน์ของเนื้อหาgif.latex?\bar{X}

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

----------, สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2546). คูมือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 สําหรับเด็กอายุ 3-5 ปี. กรุงเทพมหานคร: มปพ,

----------. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์,

จินตนา ใบกาซูยี. (2535). การเขียนสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลศิระ. (2553). ตารางสถิติ. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2553 . จาก http://www.watpon.com/table”
ทองแดง ฉิมมาลี. (2550). รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ สำหรับ
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เพื่อแก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโรงเรียนบ้านไพรษรสำโรง (ราษฎรบำรุง) อำเภอศีขรภูมิ. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2554, จาก http://www.surinarea1.go.th.

นิตยา ประพฤติกิจ. (2541). คณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

บุญเยี่ยม จิตรดอน. (2526). หนังสือชุดคู่มือครูการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ปณิชา มโนสิทธยากร. (2533). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่เลนเกมการศึกษาเนนเศษสวนของรูปเรขาคณิต. (ปริญญานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2533). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาฝึกอบรมครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ อบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 1-7. มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ

ศศิธร สุทธิแพทย์. (2518). แบบฝึกสำหรับสอนเรื่องวลีในภาษาไทยระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สารสนเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 1.(2552). สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2552, จาก http://www.cri1.obec.go.th/history.html.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Heinich Robert., Michael Molenda and James D. Russell. (1985). Instructional Media and the New Technologies of Instruction. 2nd ed. New York: John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2018

How to Cite