การประเมินอภิมานรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Tassanee Dangno

คำสำคัญ:

การประเมินอภิมาน, รายงานการประเมินตนเอง, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอภิมานรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา  เพื่อศึกษากระบวนการทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา และเพื่อศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มตัวอย่างเป็นเอกสารรายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1- 4 จำนวน 48 เล่ม  ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น การวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินอภิมานรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระยะที่ 2 ศึกษากระบวนการดำเนินงานจัดทำแบบรายงานการประเมินตนเอง ระยะที่ 3 ศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวม 9 ฉบับ แยกเป็นแบบประเมินอภิมานรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา  จำนวน 3 ฉบับ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์คณะผู้จัดทำรายงาน ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ประเมินภายคุณภาพภายนอก จำนวน 3 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับคณะผู้จัดทำรายงาน ผู้บริหาร และผู้ประเมินคุณภาพภายนอก จำนวน 3 ฉบับ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

            ผลการประเมินอภิมานรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา พบว่า รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ทำตามแบบบันทึกของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยคณะผู้จัดทำได้แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบตามรายมาตรฐาน การนำเสนอรายงานส่วนใหญ่ไม่สอดคล้อง กับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ วัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องและครอบคลุมตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกำหนดเป้าหมายไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หากสถานศึกษาขนาดใหญ่การรายงานประเมินตนเองจะมีความสมบูรณ์ ส่วนสถานศึกษาขนาดเล็กส่วนใหญ่จะมีข้อมูลไม่ครบ โดยเฉพาะข้อมูลผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรอบปี ซึ่งเป็นผลของการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ที่จัดให้ผู้เรียนจะไม่มีที่มาของค่าร้อยละที่รายงานไว้ว่าได้มาจากแหล่งใด ข้อมูลส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้มาเกิดจากการคาดคะเน

               กระบวนการทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ผู้บริหาร คณะครูและผู้จัดทำร่วมกันหาจุดเด่น จุดด้อย ข้อเสนอแนะของการประเมินรอบก่อนจาก สมศ. เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานนั้นๆ และแบ่งแยกหน้าที่ ความรับผิดชอบให้กับคณะครูเป็นรายมาตรฐาน และเป็นไปตามความถนัดของครูแต่ละคน ในโรงเรียนขนาดใหญ่การแบ่งแยกความรับผิดชอบ และจัดทำโครงการหรือกิจกรรมของสถานศึกษามีความเป็นไปได้  การรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษามีแหล่งที่มาของข้อมูล มีคณะกรรมการประเมินโครงการและกิจกรรมในการให้ผลการประเมินในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งในขณะที่โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก มีบุคลากร และงบประมาณไม่เพียงพอ การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมบางครั้งอาจจะทำได้ไม่ครอบคลุมทุกมาตรฐาน หรือทำได้ไม่มากนัก บางโครงการ บางกิจกรรม ไม่ให้ผลที่ดีในมาตรฐานที่ต้องการพัฒนา อาจสืบเนื่องจากจำนวนของผู้เรียนด้วยเช่นกัน เพราะบางโครงการ/กิจกรรม ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะจำนวนนักเรียนมีน้อย จึงทำให้มาตรฐานนั้นไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

            การศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ผู้บริหาร คณะครูผู้จัดทำและผู้ประเมินคุณภาพภายนอก มีความต้องการให้แบ่งแยกขนาดของโรงเรียนและจัดทำแบบจัดทำรายงานการประเมินตนเองให้สอดคล้องกับขนาดโรงเรียน เพื่อให้บุคลากรสามารถแบ่งความรับผิดชอบงานได้อย่างครบถ้วนและไม่มากไม่น้อยเกินไป ซึ่งทำให้การดูแลในแต่ละมาตรฐานสามารถทำได้อย่างเต็มความสามารถและพัฒนามาตรฐานนั้นๆ ได้รับประโยชน์สูงสุด

References

กมล สุดาประเสริฐ. สาเหตุที่ต้องประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. (ออนไลน์) แหล่งที่มา :
http://thaiedresearch.org. วันที่สืบค้น 30 กันยายน 2547.

กรมวิชาการ. การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2542.

รุ่ง แก้วแดง. ประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทำได้ ไม่ยาก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
วัฒนาพาณิช จำกัด, 2544.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. รายงานการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์
อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2547.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย. รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา โรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย. มปท, 2553.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิก, 2544.

สุวิมล ว่องวาณิช. บทสรุปรายงานการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในสถานศึกษา.
กรุงเทพฯ : บางกอกบล็อก, 2543.

Saunders, W.L. and Shepardson, D. “A Comparison of Concrete and Formal Science

Instruction upon Science Achievement and Reasoning Ability of Sixth Grade Students”, Journal of Research in Science Teaching. 1 (January 1987). 39-51, 1987.
Stufflebeam (Eds.), Evaluation models : Viewpoints on Educational and Human Services
Evaluation. Boston: Kluwer-Nijhoff, 1983.

The Methodology of Meta-evaluation as Reflected in Meta-evaluations by
the Western Michigan University Evaluation Center. Journal of Personnel Evaluation
in Education, 2000.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2018

How to Cite