การวิเคราะห์ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 1

ผู้แต่ง

  • Jadenathee Rajmuangmoon

คำสำคัญ:

ปัจจัยจำแนก, การตัดสินใจศึกษาต่อสายอาชีพ, พื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนและสร้างสมการจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 เขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 1 ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 1ฉบับ แบ่งออกเป็นปัจจัยด้านตัวนักเรียน ด้านครอบครัว ด้านสังคม และด้านสิ่งจูงใจแวดล้อม รวม 67 ข้อและมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ข้อมูลพื้นฐานวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย  ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์จำแนกปัจจัยใช้การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) 

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  1. ปัจจัยที่สามารถจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 1 มี 5 ตัวแปร ได้แก่ ผลการเรียนเฉลี่ย (Grade), จำนวนบุตรร่วมบิดามารดาเดียวกัน (Numfamil), ระยะทางจากบ้านถึงสถานศึกษา (Distance), ความต้องการยอมรับจากบุคคลอื่น (Gtotal) และ รายได้ของผู้ปกครอง (Income) สมการจำแนกกลุ่มที่ได้สามารถจำแนกกลุ่มของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มได้ถูกต้องถึงร้อยละ 68.4 โดยกลุ่มนักเรียนที่เลือกศึกษาต่อในระดับ ปวช.1 สมการสามารถจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 67.2 และกลุ่มนักเรียนที่เลือกศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 สมการจำแนกประเภทสามารถจำแนกได้ถูกต้อง ร้อยละ 68.6
  2. สมการจำแนกประเภทในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานสามารถแสดงได้ตามลำดับ ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Y  = -6.301 + 1.127X (Gtotal) + 1.042X (Grade) -.331X (Numfamil)

-.007X(Distance) + .000X (Income)

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

Z  =  .540 Z (Grade)  -.465Z (Numfamil) -.411Z (Distance) + .314Z (Gtotal)

+ .301Z (Income)  

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมอาชีวศึกษา. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : กระทรงฯ, 2542.

กระทรวงศึกษาธิการ. การศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนต่อ และการเลือกวิถีชีวิตของนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงฯ, 2533.

ไข่มุก เสาวจันทร์. ปัจจัยการเลือกเรียนอาชีวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัด ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารอาชีวศึกษา) กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2543.

ชอุ่ม มงคล. การติดตามผลผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2534.

ธวัช แก้วอนันต์. การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มนักเรียนในภาคกลางที่ศึกษาต่อและไม่ศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การวิจัยการศึกษา) กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, 2533.

รุ่งโรจน์ เสถียรปรีชา .ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อการอาชีวศึกษาของนักเรียนในจังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ คอ.ม.(การบริหารอาชีวศึกษา) กรุงเทพฯ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2547.

วิไล ตั้งจิตสมคิด. การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร, 2544.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. รายงานการวิจัยการติดตามผลผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร : ทำปกเจริญผล, 2534.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2018

How to Cite