พัฒนาซอฟต์แวร์รายงานผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของ นักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • chaturong Hemara
  • Phumpat Tananchayaitdet

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.) เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ รายงานผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ 2.) เพื่อหาประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ รายงานผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย  3.) เพื่อเขียนคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ รายงานผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย                                                                                                                                                         1. ผลการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างซอฟต์แวร์โดยใช้โปรแกรม Visual Basic 2005 โดยในส่วนของฐานข้อมูล จะถูกจัดเก็บโดยโปรแกรม Microsoft Access 2007 โดยแบ่งโปรแกรมออกเป็น 4 ส่วนคือ การใช้งาน การป้อนข้อมูลนักเรียน การบันทึกผลการทดสอบ และรายงานผลการทดสอบโดยซอฟต์แวร์นี้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (PC) และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) ที่มีระบบปฏิบัติการ Windows XP และมีโปรแกรม Microsoft Access 2007 ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง โปรแกรมการจัดการข้อมูลสามารถสร้างแฟ้มที่มีโครงสร้างแฟ้มเหมือนกับฐานข้อมูล แอคเสด 2007 (Access 2007) สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประมวลผล ชื่อตัวแปร (Field Name) และข้อมูลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้ สามารถจัดกระทำกับแฟ้มข้อมูล เช่นการสร้างแฟ้ม การแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูล การค้นหาข้อมูล และการพิมพ์ผลรวมจากตัวแปรที่ต้องการ   

  1. ผลการตรวจประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ ผู้วิจัยได้ตรวจสอบประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์โดยแบ่งเป็น 4 ด้านคือ ด้านความตรง ด้านความเที่ยง ด้านความเหมาะสมของรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลและด้านความสะดวกในการใช้งานซึ่งได้ผลดังนี้

             2.1 ด้านความตรง (Validity) โดยผู้วิจัยได้มีการตรวจสอบผลการคำนวณต่างๆด้วยเครื่องคิดเลขและเปรียบเทียบกับค่าที่ซอฟต์แวร์ที่คำนวณได้เพื่อเป็นการตรวจสอบค่าที่ได้จากการคำนวณที่ตรงกัน

            2.2 ด้านความเที่ยง (Reliability) โดยผู้วิจัยดำเนินการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงความคงที่ (test retest) โดยการสร้างข้อมูลหลายๆแบบแล้วให้ซอฟต์แวร์คำนวณผลการการทดสอบของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งผลการใช้ซอฟต์แวร์ คำนวณพบว่าได้ผลการคำนวณเท่าเดิม        

           2.3 ความเหมาะสมของรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้วิจัยได้ค้นหารูปแบบการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละแบบ โดยศึกษาจากแบบฟอร์มการรายงานผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของแต่ละโรงเรียนที่รายงานต่อสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพทางการศึกษา (สมศ.) โดยเลือกและประยุกต์แบบฟอร์มให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรายงานผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย และหลังจากนั้นให้ ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินความเหมาะสมของแบบการรายงานผลโดยการใช้เทคนิค IOC และทำการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

           2.4 ด้านความสะดวก ในการใช้งาน(Convenience of use) จากการการวิเคราะห์แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ( 5 ระดับ ) จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 ที่กำลังเรียนวิชา ทดสอบและประเมินผลพลศึกษา จำนวน 21 คน พบว่า ความชัดเจนของคำสั่งชี้แจงบนจอภาพ (  gif.latex?\bar{X}= 4.52 ) (SD = 0.50 )โดยมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนในด้านความสะดวกในการใช้ซอฟต์แวร์ ( gif.latex?\bar{X}= 4.43 ) (SD = 0.49 ) และความเหมาะสมของรูปแบบการรายงานผล (gif.latex?\bar{X} = 4.29 )(SD = 0.45 ) มีความเห็นอยู่ในระดับมาก

  1. 3. ผลการสร้างคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ ผู้วิจัยได้จัดทำคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ หลังจากได้สร้างซอฟต์แวร์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์นี้แบ่งออกเป็น 4 ตอน ตามลำดับรายการ

เลือกในซอฟต์แวร์ คือ การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การพิมพ์รายงาน และตัวเลือกอื่นๆจากการให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ซอฟต์แวร์พร้อมคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ พบว่าความสอดคล้อง

ระหว่างขั้นตอนในคู่มือกับขั้นตอนการทำงานของซอฟต์แวร์ ( gif.latex?\bar{X}= 4.57 ) (SD = 0.58 )  และความชัดเจนของคำสั่งชี้แจงในคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ (  gif.latex?\bar{X}= 4.62 ) (SD = 0.55 )  มีความคิดเห็นในระดับ

มากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างทุกคนสามารถทำตามขั้นตอนต่างๆ ในคู่มือได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน

 

References

กฤษณะ แช่มเงิน. (2549). ความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาพล
ศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ ปีการศึกษา2548.

ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุภชาติ พุงขาว. (2552 ). ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระพลศึกษา ของนักเรียนช่วงชั้นที่
4 ในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ .ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติในการวัดและเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สมาน มาศโอสถ. (2551). สภาพและปัญหาการเรียนการสอนพลศึกษาระดับอนุบาลของครูผู้สอน
ในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2551. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา).

กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุพิตร สมาหิโตและคณะ. (2549). “แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ
กับ สุขภาพเด็กไทย อายุ 7 – 18 ปี ”คณะกรรมการส่งเสริมการกีฬาและการออกกำลังกาย
เพื่อสุขภาพในสถาบันการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
สร้างเสริมสุขภาพ.กรุงเทพฯ.

อดิศักดิ์ พงศลี้. (2550). สภาพและปัญหาการเรียนการสอนพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 ในเขตพื้นที่
การศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธเขต 1 ปการศึกษา 2547. ปริญญานิพนธกศ.ม.(พลศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2018

How to Cite