สภาพปัญหาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิค

ผู้แต่ง

  • Youthasin Choumanee

คำสำคัญ:

สภาพปัญหา, การประกันคุณภาพภายใน, วิทยาลัยเทคนิค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.)  ศึกษาสภาพปัญหาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิค2.)  ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิคและ 3.)  ศึกษาความเหมาะสมสอดคล้องของมาตรฐาน ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิคกับการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา ครูวิทยาลัยเทคนิคในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน  8 วิทยาลัย โดยศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยเทคนิคซึ่งประกอบด้วยตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษา ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิคในด้านผู้ประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ด้านคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาและด้านการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยเทคนิคซึ่งประกอบไปด้วยปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน วิธีการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะอื่นๆ

               ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งส่วนใหญ่เป็นครูประจำการ เคยเข้าร่วมการอบรมการประกันคุณภาพการศึกษาร้อยละ70และเห็นว่าการประกันคุณภาพการศึกษานั้นเป็นการเพิ่มภาระงานร้อยละ56.7 ผู้ที่ปฏิบัติงานประกันคุณภาพในวิทยาลัยแบบเต็มเวลานั้นส่วนใหญ่จะมีเพียง 1คน และรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษามาเป็นระยะเวลา 2 ปีเป็นส่วนใหญ่

               ในภาพรวมการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเทคนิคในภาพรวมในด้านมาตรฐานตัวบ่งชี้นั้นมีความสอดคล้องกับการปฏิบัติเป็นอย่างมาก และมีการปฏิบัติงานในด้านมาตรฐานตัวบ่งชี้อยู่เป็นประจำเช่นกัน

References

จันทร์จิรา โสตถิกุล.(2544).การติดตามการประกันคุณภาพการศึกษาด้านบุคลากรโรงเรียนศรีธนาพาณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่.ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชำนาญ อยู่แพ.(2544).การปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี.การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เดชา จั่นบุณมี.(2547).แนวทางการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3.ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญมา พรชัย. (2551).การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิทยากร เชียงกูล และคณะ.(2552). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550-2551 ปัญหาความเสมอภาค และคุณภาพของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545).รายงานการติดตามและประเมินผลการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ .อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่ง.
. (2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ.(2548).อาชีวศึกษาพัฒนาชาติ:บทเรียนจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.

. (2552).สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากลพ.ศ 2552.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ 2552-2561).กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

. (2552).ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 – 20 ปี.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

. (2552).การศึกษาแนวทางการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีตามความต้องการของประเทศ : กรณีศึกษาประเภทอุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

. (2553).การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา.(2550).วิกฤติปัญหาคุณภาพการศึกษาและแนวทางแก้ไข.เอกสารประกอบการประชุมระดมความคิดเห็น การประชุมสัมมชาคุณภาพการศึกษา.

สมปอง พูนเพิ่ม.(2551).สภาพ ปัญหา และแนวทางการจัดการศึกษาตามการดำเนินงานประกัน

คุณภาพภายในของวิทยาลัยการอาชีพเชียงคำ จังหวัดพะเยา.ครุศาสตร์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุรวุฒ ณ ระนอง.(2546).ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร.ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2018

How to Cite